กลวิธีทางภาษากับอุดมการณ์ในคำขวัญผู้สูงอายุของจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาภาษากับอุดมการณ์ในคำขวัญผู้สูงอายุของจีน ซึ่งประเด็นผู้สูงอายุกำลังเป็นประเด็นสำคัญของโลก จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุ จากสถานการณ์ดังกล่าวนี้ จีนก็ได้มีนโยบายต่าง ๆ ด้านสังคมผู้สูงอายุออกมามากมาย วาทกรรมต่าง ๆ ถูกนำมาใช้ในการดำเนินนโยบายของรัฐรวมไปถึงคำขวัญที่เป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษากับอุดมการณ์ที่สะท้อนผ่านคำขวัญผู้สูงอายุของจีน โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์คำขวัญของจีน รวมจำนวนคำขวัญที่ศึกษา 100 คำขวัญ งานวิจัยนี้ใช้วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เป็นกรอบในการศึกษา ศึกษาภาษากับอุดมการณ์ที่ปรากฏในคำขวัญ ผลการศึกษาพบว่าอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุที่สะท้อนผ่านวาทกรรมคำขวัญ แบ่งเป็นชุดความคิดสำคัญ 5 ชุดความคิด ได้แก่ 1.ชุดความคิดผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีคุณค่าในสังคม 2.ชุดความคิดผู้สูงอายุคือตัวเราในวันข้างหน้า 3.ชุดความคิดครอบครัว สมาชิกในสังคม หน่วยงานและประเทศมีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ 4. ชุดความคิดความกตัญญู การให้ความรัก การให้ความเคารพ การให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ 5. ชุดความคิดผู้สูงอายุมีความสุขครอบครัวสังคมมีสุข โดยปรากฏกลวิธีทางภาษา ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ การใช้คำศัพท์ที่มีความหมายตรงข้าม การเรียก ประโยคเพิ่มทวี ประโยคคู่ขนาน ประโยคคำสั่ง-ขอร้อง ประโยคปฏิเสธ การพ้องเสียง การอุปลักษณ์ การซ้ำคำ การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ และบทกลอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขจิตา ศรีพุ่ม. (2562). อุดมการณ์ทางเพศในพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1-2: การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(54), 218-245.
ณฐ อังศุวิริยะ. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องกลวิธีการใช้ภาษากับอุดมการณ์ในโฆษณาการเงินประเด็นการออมและการเป็นหนี้ผ่านวาทกรรมโฆษณาทางโทรทัศน์ไทย. ภาควิชาสารัตถศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่.
http://kb.psu.ac.th:8080/psukb/bitstream/2016/12622/1/437741.pdf
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพ ฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดีอนา คาซา. (2562). ชุดความคิดว่าด้วย “อาเซียน” ที่นำเสนอผ่านภาษา ในหนังสือการ์ตูนเสริมความรู้ชุดรอบรู้อาเซียน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(2), 102-132.
เตวิช เสวตไอยาราม และ จิรวัสน์ จันทร์นวล. (2563). บทบาททางเพศของผู้หญิงในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่น ระหว่างปีค.ศ. 2001 - 2019: วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. มนุษยศาสตร์สาร, 21(2), 64-83.
ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ. (2561). ภาษากับอุดมการณ์เกียรติภูมิในวาทกรรมเพลงมาร์ชโรงเรียนประจำจังหวัดไทย.วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(3), 44-65.
ธีระ บุษบกแก้ว และ ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2563). ภาพตัวแทนผู้อายุไทยที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในหนังสือพิมพ์รายวันไทย. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 42(2), 88-114.
นครินทร์ สำเภอพล และ ศิริพร ภักดีผาสุก. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนบุคคลพ้นโทษในวาทกรรมสนับสนุนบุคคลพ้นโทษในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย. วรรณวิทัศน์, 20(1), 37-86.
นันทนา วงษ์ไทย. (2556). การวิเคราะห์วาทกรรมความงามในโฆษณาเครื่องดื่มเพื่อความงาม. วารสารมนุษยศาสตร์, 20(1), 77-107.
นัยนา วงศ์สาคำ และ ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2559). ภาษากับอุดมการณ์การศึกษาในรายการโทรทัศน์ “เดินหน้าประเทศไทย”. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2), 55-81.
วรพงศ์ ไชยฤกษ์. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ : มุมมองใหม่ในการวิจัยทางภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 8(1), 135-162.
วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2560). ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างความเป็นผู้ใหญ่-ความเป็นเด็กในหนังสือชุด "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก". วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(2), 104-126.
วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และเทพี จรัสจรุงเกียรติ. (2562). สุนทรียะของอาหารที่รังสรรค์ผ่าน “เชฟ” : ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับการสร้างคุณค่าเชิงสัญญะ ในนิตยสารประเภทอาหาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 188-212.
ศรวนีย์ สรรคบุรานุรักษ์. (2550). คำขวัญ: กลวิธีการรณรงค์บนพื้นฐานความต้องการของมนุษย์. วรรณวิทัศน์, 7, 168-192.
สิริศิระ โชคทวีกิจ. (2562). ความคิดที่เชื่อว่ามีอยู่ก่อน ในเรื่องสั้น “สงบงงในดงงู”: แนวทางวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 38(1), 154-172.
สุนทรี โชติดิลก และณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2561). "เด็กดีต้องทำบุญ" ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมสื่อสำหรับเด็กที่ผลิตโดยวัดพระธรรมกาย. วารสารอักษรศาสตร์, 40(1), 85-123.
Creative Thailand. (2563, 3 กรกฎาคม). มองไปข้างหน้า 2050: เดินหน้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society). https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Aging-Society-2050
Fairclough,N. (1995). Media Discourse. Edward Arnold.
Natthaporn Panpothong. (2015). Thai Primary School History Textbooks: A Textually-oriented Critical Discourse Analysis. Journal of Language and Linguistics, 34(1), 66-93.
韩程鹏 (Han Chengpeng). (2008). 标语口号的功能研究(การศึกษาหน้าที่ของคำขวัญ). 思想理论教育, (15), 56-61. 10.16075/j.cnki.cn31-1220/g4.2008.15.005
环渤海新闻网 (Huanbohai News). (2020, 16 ตุลาคม). 2050年达到34%!中国老龄化比世界平均速度快一倍 (ปี ค.ศ. 2050 สูงขึ้นถึง 34%: อัตราการเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุของจีนเพิ่มขึ้นสูงกว่าอัตราของจำนวนผู้สูงอายุของโลกถึงหนึ่งเท่า). http://news.huanbohainews.com.cn/system/2020/10/16/011953834.shtml
李宏、李风山 (Li Hong & Li Fengshan). (2020). 公共危机情景中的标语口号:传播属性与话语构建(คำขวัญที่ใช้สะท้อนภาวะฉุกเฉินในสังคม: คำขวัญกับการประชาสัมพันธ์ และ การใช้คำในคำขวัญเพื่อการรณรงค์).新闻与传播评论, (6), 53-60.
中国新闻网 (China News). (2020, 19 มิถุนายน). 中国将在2022年左右进入老龄社会
(รายงานประเทศจีนประมาณปี ค.ศ. 2022 จะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์).
http://www.chinanews.com/cj/2020/06-19/9216394.shtml
朱自清 (Zhu Ziqing). (2004). 论标语口号 (การศึกษาคำขวัญ). 出版参考, (35), 37.