การพัฒนาวัสดุบรรจุภัณฑ์และภาชนะจากเยื่อใบยางพาราผสมผสานกับวัสดุท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตถ้วยจานกาบหมากบ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

Main Article Content

ผกามาศ มณีศรี
กฤษฎา ดูพันดุง

บทคัดย่อ

การพัฒนาวัสดุบรรจุภัณฑ์และภาชนะจากเยื่อใบยางพาราผสมผสานกับวัสดุท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตถ้วยจานกาบหมากบ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคานจังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาวัสดุบรรจุภัณฑ์ภาชนะกระดาษขึ้นรูปจากเยื่อใบยางพาราผสมผสานวัสดุท้องถิ่น 2)เพื่อทดสอบวัสดุบรรจุภัณฑ์จานกระดาษขึ้นรูปที่พัฒนาขึ้นใหม่ 3)เพื่อประเมินเปรียบเทียบความพึงพอใจการใช้จานกาบหมากแบบเดิมและจานกระดาษขึ้นรูปจากวัสดุที่พัฒนาขึ้นใหม่ ซึ่งมีสมมติฐานการวิจัยคือ ภาชนะขึ้นรูปจากวัสดุกาบหมากและภาชนะกระดาษจากวัสดุใหม่มีความพึงพอใจในการใช้งานจากผู้ใช้ไม่แตกต่างกัน ในการดำเนินวิจัยได้ศึกษากระบวนการในการผลิตกระดาษและศึกษาข้อมูลของวัสดุท้องถิ่นในจังหวัดเลย จากการศึกษาพบว่าพืชเศรษฐกิจที่มีจำนวนมากในท้องถิ่นมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ เปลือกข้าวโพด ฟางข้าวและใบอ้อย โดยนำวัสดุทั้ง3ชนิดนี้มาเป็นวัตถุดิบผสมผสานกับเยื่อใบยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตกระดาษ มีการคิดค้นสูตรกระดาษออกมาด้วยกัน 4 สูตรได้แก่ สูตรที่1 เยื่อใบยางพาราผสมเปลือกข้าวโพด ในอัตราส่วน 60:40 สูตรที่2 เยื่อใบยางพาราผสมฟางข้าว ในอัตราส่วน 60:40 สูตรที่3 เยื่อใบยางพาราผสมใบอ้อย ในอัตราส่วน 60:40 สูตรที่4 เยื่อใบยางพาราผสมเปลือกข้าวโพด,ฟางข้าวและใบอ้อยในอัตราส่วน 40:20:20:20  สรุปผลการวิจัยวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น เป็นภาชนะจานกระดาษสำหรับใส่อาหาร ที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ จากการศึกษาความพึงพอใจต่อภาชนะจานกระดาษจากวัสดุที่พัฒนาขึ้น ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 66 คน สรุปได้ว่าภาชนะกระดาษจากวัสดุใหม่มีระดับความเหมาะสมในการใช้งานได้ดีมาก และจากการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่าจานขึ้นรูปจากวัสดุกาบหมากและจานกระดาษจากวัสดุที่ใหม่ มีความพึงพอใจในการใช้งานจากผู้ใช้ไม่แตกต่างกันเป็นจริงตามสมมุติฐาน ด้วยความเชื่อมั่นทางสถิติที่ระดับ 0.05 เหตุที่สมมุติฐานเป็นเช่นนี้ เป็นไปได้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้เหตุว่าภาชนะทั้งสองชนิดเป็นภาชนะที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเหมือนกัน ทั้งนี้ภาชนะทั้งสองยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับโลก และยังช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์. (2562). คล้า : วัสดุเหลือทิ้งจากงานจักสาน สู่เส้นใยเพื่อเสริมสร้างงานผลิตภัณฑ์แนวใหม่. อุดรธานี: โครงการวิจัย สกสว. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ. ค้นหาเมื่อ 13 ธันวาคม 2564, จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2561.

ไกรสร วงษ์ปู่ และปริดา จิ๋วปัญญา. (2564). การออกแบบและพัฒนาเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากใบบัว. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 6(1), 19-27.

ชยาภาส ทับทอง. (2549). กระดาษท้ามือจากต้นกล้วย. โครงการวิจัย วศ.บ. (วิศวกรรมศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2534). สถิติเพื่อการวิจัย:การใช้ t-test แบบ Independent. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญพร.

มาลินี ทวีศรี. (2556). การศึกษาภูมิปัญญาหีบห่อใบตองสู่การออกแบบภายในศูนย์การออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพน์ปริญญาศิลปะมหาบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณภา อาบสุวรรณ. (2562). การพัฒนากระดาษฟางข้าวเคลือบฟิล์มลามิเนตสำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรรณวิภา ไชยชาญ และคณะ. (2561). การผลิตแผ่นรองแก้วจากก้อนเชื้อเห็ดใช้แล้ว. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

สยามธุรกิจออนไลน์. (2562). ขยะ "เลย" ทะลักปีละ 2 แสนตัน กรมควบคุมมลพิษเต้น/ดึงท้องถิ่นณรงค์ลดปริมาณ. ค้นหาเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก https://www.siamturakij.com/news/3627.

Leulee Nortoualee. (2564). การเพิ่มมูลค่าฟางข้าวโดยการผลิตเป็นกระดาษบรรจุภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Mgronline. (2562). ปลุกขยะให้เป็นเงิน แจ้งเกิดจานกาบหมาก “บ้านท่าดีหมี” ดีต่อใจ ดีต่อโลก. ค้นหาเมื่อ 22 ธันวามคม 2564, จาก https://mgronline.com/smes/detail/9620000027569.