Marketing Mix Strategy Affecting Customer Satisfaction and loyalty Towards Convenience Stores in Pattaya, Chonburi province

Main Article Content

กุลวดี อัมโภชน์
ชลธิศ ดาราวงษ์

Abstract

       การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี จำแนกโดยปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ที่เข้าใช้บริการร้านค้าสะดวกซื้อจำนวน 430 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การทดสอบค่าที
การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้สมการพยากรณ์โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ                      


       ผลการวิจัยพบว่า 1)ระดับความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อเขตพัทยา จังหวัดชลบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.2) ลูกค้าที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สาขาอาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันจะมีความพึงพอใจและความจงรักภักดีต่อร้านค้าสะดวกซื้อที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3)ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดซึ่งประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านคุณสมบัติพนักงานภายใน ด้านเทคนิคและกระบวนการ
และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพจะมีอิทธิพลต่อการใช้บริการร้านค้าสะดวกซื้อโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05                     

Article Details

Section
Research Articles

References

ชวัลนุช อุทยาน. (2560). ศิลปการต้อนรับและบริการ. (ออนไลน์). สืบค้น 16 สิงหาคม 2560, จาก
https://servicearts.wordpress.com.
นภาพร สูนาสวน. (2559). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและบริการของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นและ
ร้านแฟมิลี่มาร์ทในจังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ณัฐพร ตันลาภเจริญ. (2550). ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อส่วนผสมทาง การตลาดบริการของร้านเซเว่น
อีเลฟ เว่นในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.
ปริยา รินรัตนากร ชลธิศ ดาราวงษ์ และชัยณรงค์ ชัยจินดา. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสินค้าโอท็อป
ในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 12(2), 35-45.
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2553). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณ
ค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒมหาสารคาม. 3(1), 22-25.
พิกุล บุญธิมา. (2550). ความพึงพอใจของผู้บริโภคร้านค้าสะดวกซื้อในเขตเทศบาลนครเชียงราย อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
รพีภัทร ทวีวัฒนคุณานนท์ และชลธิศ ดาราวงษ์. (2560). ปัจจัยคุณภาพการให้บริการของบริษัทรักษาความปลอดภัย
ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของพนักงานโรงแรมในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม
ชลบุรี, 13(3), 211-212
Aaker, D.A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York, NY.:
The free press.
Cronin, J. J., Brady, M. K., & Hult, G. T. M. (2000). Assessing the effects of quality, value, and customer
satisfaction on consumer behavioral intentions in service environments. Journal of Retailing,
76(2), 835-218.
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control (9thed.).
New Jersey: A Simon & Schuster Company.