การจัดการเรียนรู้ภาพพจน์โดยใช้กรณีตัวอย่าง

ผู้แต่ง

  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาพพจน์, การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ภาพพจน์โดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นกระบวนการการเรียนรู้เชิงรุก (active learning)ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ อภิปรายข้อมูล และฝึกการทำงานเป็นทีมร่วมกันกับเพื่อนในชั้นเรียน ซึ่งผู้เรียนจะต้องนำความรู้และประสบการณ์ของตนเองมาช่วยในการตีความ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดของผู้เรียนด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจซึ่งกันและกัน ฉะนั้น การนำวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (case) มาใช้ในการเรียนรู้ภาพพจน์ จะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และอภิปรายข้อมูลร่วมกันในชั้นเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความตื่นเต้น กระตือรือร้น และกล้าแสดงความคิดนั้นได้อย่างสร้างสรรค์

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2548). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 8. นนทบุรี : พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ชุมสาย สุวรรณชมภู. (2540). ภาษากับการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2543). ทักษะการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาลัย สุวรรณธาดา. (2533). “ภาพพจน์” ในเอกสารการสอนชุดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสารหน่วยที่ 1 – 7, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปถวีธร เพชรสุริยา. (2554). “การวิเคราะห์ภาษาภาพพจน์ในโคลงโลกนิติ”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (ภาษาศาสตร์ประยุกต์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยุวพาส์ (ประทีปเสน) ชัยศิลป์วัฒนา. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณคดี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
สมพงษ์ จิตระดับ. (2530). “การสอนจริยศึกษาด้านสถานการณ์จำลอง” ประชาศึกษา.ปีที่ 24 ฉบับที่ 6.
สิทธา พินิจภูวดล และคณะ. (2514). การเขียนและการพูด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรรถพงษ์ อตฺถญาโณ. (พระมหา). (ผิวเหลือง). (2561). “ความแตกต่างของอุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์ ภาษาศาสตร์ปริชานและอรรถศาสตร์ปริชาน”. ศึกษาศาสตร์ มมร. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม.
อำไพ สุจริตกุล. (ม.ป.ป.) “ข้อแนะนำการสอนโดยใช้กิจกรรมและเทคนิควิธีการต่าง ๆ” เอกสารประกอบวิชา 413803 การฝึกอบรมครูประจำการ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
X. J. Kennedy and Dana Gioia., Literature, An Introduction to Fiction, Poetry, and Drama, 9 thed, New York : Pearson Longman, 2005.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-27