ธรรมทรรศน์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างชาติ ของสุธีโรภิกขุ

ผู้แต่ง

  • ภัทรชัย อุทาพันธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ธรรมทรรศน์, การเผยแผ่พุทธศาสนา, ชาวต่างชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาธรรมทรรศน์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาธรรมทรรศน์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทแก่ชาวต่างชาติ ของสุธีโรภิกขุ 3) วิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทแก่ชาวต่างชาติ ของสุธีโรภิกขุ โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ได้แก่ พระภิกษุไทยจำนวน 4 รูปพระภิกษุชาวต่างชาติจำนวน 3 รูป และฆราวาสชาวต่างชาติ จำนวน 7 คน (รวม 14 รูป/คน) แล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า: ธรรมทรรศน์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ วิสัยทัศน์ ทัศนะหรือความเห็น ที่ผ่านการกลั่นกรอง ใคร่ครวญพิจารณาจากประสบการณ์ตรงทั้งทางโลกและทางธรรมด้วยวัจนภาษา คือ การตรัสสอนด้วยถ้อยคำอันเหมาะแก่ผู้ฟัง และอวัจนภาษา มีพุทธจริยาที่งดงามเหมาะควรแก่สถานการณ์ บริบทสังคม ศักยภาพ จริตนิสัยของผู้ฟัง และหลักธรรมที่เหมาะสมกับบุคคลในการพัฒนาจิต

ธรรมทรรศน์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทแก่ชาวต่างชาติของสุธีโรภิกขุ คือการใช้หลักธรรมทรรศน์เผยแผ่แบบ 3 2 4 ได้แก่ การใช้แนวทาง 3 ตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา รูปแบบ 2 ประการ ได้แก่ การใช้ วัจนภาษา คือ ด้วยการพูด เข้าใจง่าย สุภาพ อ่อนโยน และการใช้ อวัจนภาษา คือ ด้วยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และวิธีการ 4 ได้แก่ สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้สัมผัสได้

วิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทแก่ชาวต่างชาติของสุธีโรภิกขุ ท่านได้ยึดมั่นในหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ผ่านรูปแบบการสอนด้วยวจนภาษาและอวัจนภาษา และด้วยวิธีการ สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้สัมผัสได้ สอนชาวต่างชาติและพุทธศาสนิกชนทำให้ผู้ปฏิบัติสัมผัสถึงปริยัติที่ถ่องแท้ ปฏิบัติที่ถูกทาง และปฏิเวธอันเที่ยงธรรม นำไปสู่ผลเป็นคุณสัมปันโน

References

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา.(2556).สืบค้นจากwww.digitalschool.club/digital school/social111/social11/more/page36.php, สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564.

จิราพร เนติธาดา.(2542).วิธีการถ่ายทอดธรรมะของหลวงพ่อชา สุภัทโท.วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ,บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จีรวรรณ โสภัณ. (2562). ศึกษาวิเคราะห์หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก).วิทยานิพนธ์ปริญญา ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาวราสะยะ วราสยานนท์และ ชนมกร ประไกร. (2563). ภาษาอังกฤษกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนตุลาคม, หน้า 98-112.

พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน (เหลาทอง). (2562).กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ.ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วินย.4/32/39,กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(2564). วัดพุทธปทีป. สืบค้นจาก https://th.wikipedia. org/wiki/วัดพุทธปทีป, สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม2564.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). พระพรหมวชิรญาณ(โรเบิร์ต สุเมโธ). สืบค้นจาก https://th.Wikipedia.org/wiki/พระพรหมวชิรญาณ(โรเบิร์ต_สุเมโธ), สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29