การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของ วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติในการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรที่ใช้ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมากทั้งห้าด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านงานวิทยบริการและห้องสมุด ( = 4.36) ด้านงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ( = 4.30) ด้านงานสื่อการเรียนการสอน ( = 4.29) ด้านงานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ( = 4.27) และด้านงานวัดผลและประเมินผล ( = 4.24) จากการศึกษามีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ ควรพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองที่หลากหลาย สนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดหาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี มีการส่งเสริมและพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนการสอน
References
คำใบ แก้วสะหว่าง(2562). การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยครูปากเซประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, หน้า 81.
ธีรวุฒิ เพชรวิโรจน์. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, หน้า 13.
วิทยา ศรีทิพยราษฎร์. (2563). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยการ อาชีพบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว. สำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, หน้า 85-89.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์,หน้า 121.
สถิต เทศาราช และคณะ. (2565). ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนางานวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด อุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE) วันที่ 29 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชธานี, หน้า 424-425.
สมศักดิ์ ไพคำนาม. (2558). การบริหารสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี.ประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 วันที่ 18-19 มิถุนายน วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา, หน้า 300.
สว่าง สัตย์ธรรม. (2557). สภาพปัจจุบันปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, หน้า 94-95.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2550). โครงการศึกษาการ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย เล่มที่ 1 : การศึกษาในระดับมหภาค. กรุงเทพฯ:อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์,หน้า 17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการแสงอีสาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.