การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม โดยใช้เทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนมะเดื่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนมะเดื่อ โดยใช้เทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน 2) ศึกษาประสิทธิผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนมะเดื่อ โดยใช้เทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม โดยใช้เทคนิค เกมกลุ่มแข่งขัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนมะเดื่อ ในการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านสวนมะเดื่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนมะเดื่อ โดยใช้เทคนิค เกมกลุ่มแข่งขัน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 15.93 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.64 2) ประสิทธิผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนมะเดื่อ โดยใช้เทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน มีพัฒนาการสูงขึ้น โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.67 และ3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการหารทศนิยม โดยใช้เทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนมะเดื่อ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, หน้า 45.
กิตติ พัฒนตระกูลสุข. (2548). บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์, วารสารคณิตศาสตร์, ปีที่ 48 ฉบับที่ 54 ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2548, หน้า 1.
ประภาศิริ ปราโทย์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือควบคู่กับเกม เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, หน้า 1.
ปิยนาถ สุทธิประภา. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน,คณะครุศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, หน้า 59.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ, หน้า 135.
อดิวัฒน์ เรือนรื่น. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเค็ด โดยใช้วิธีการสอนแบบ TGT. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้า 42.
อิสระพงศ์ โสภาใฮ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยใช้การเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวิชานุกูล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, หน้า 69.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.