การสร้างเครือข่ายบนพื้นทางสังคมสู่การพัฒนาทางด้านจิตใจและปัญญาในจังหวัดลำปาง

Networking on Social Space to Mental and Wisdom Development

ผู้แต่ง

  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย -

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา 2) เพื่อพัฒนาระบบสร้างสรรค์ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา 3) เพื่อสร้างเครือข่ายบนพื้นที่ทางสังคมสู่การพัฒนาทางด้านจิตใจและปัญญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือจากการศึกษาเอกสาร การสนทนากลุ่มย่อย การมีส่วนร่วมและปฏิบัติการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสาร การประชุมกลุ่มย่อยและปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากสนทนากลุ่ม 18 คน และกลุ่มเป้าหมายเชิงปฏิบัติการจำนวน 36 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและกระบวนการสร้างเครือข่ายบนพื้นที่ทางสังคมเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า  

  1. การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญามีกระบวนการทำงาน ดังนี้ 1) การได้ความรู้หลักสูตรการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ เข้าใจสภาพจิตใจของผู้อื่น 2) การเชื่อมโยงโครงการวัด บ้าน ประชารัฐสร้างสุข ตามนโยบายคณะสงฆ์ 3) การพัฒนาพื้นที่ด้วยทุนทางภูมิวัฒนธรรมในพื้นที่สร้างสรรค์ และ 4) การจัดตั้งศูนย์พัฒนาจิตใจและปัญญาประจำจังหวัด เพื่อรองรับและให้บริการแก่ผู้ที่ประสบความทุกข์ในการดำเนินชีวิต
  2. การพัฒนาระบบกลไกเพื่อรับบริการจากศูนย์พัฒนาจิตใจและปัญญามีรูปแบบ 3 อย่าง ได้แก่ 1) การเข้ารับบริการในพื้นที่สำหรับกิจกรรมและหลักคำสอนที่ 2) ระบบกลไกการรับบริการผ่านสถานีวิทยุ เพื่อให้แง่คิด คำชี้แนะ หลักความเชื่อและจารีตประเพณีต่างๆ และ 3) ระบบกลไกการรับบริการผ่านธรรมะในสวนที่ขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง

3. การสร้างเครือข่ายบนพื้นที่ทางสังคมสู่การพัฒนาทางด้านจิตใจและปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) การสร้างเครือข่ายด้วยกิจกรรมในพื้นที่ เพื่อทำกิจกรรมการขับเคลื่อนศูนย์ 2) การสร้างเครือข่ายตามพลังแห่ง บวร. ร่วมกับคณะสงฆ์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดเป็นชุมชนคุณธรรม พึ่งพาอาศัยกันและกัน 3) การสร้างเครือข่ายด้วยระบบกลไกที่มีผลต่อการขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาจิตใจและปัญญา เช่น กลไกด้านการส่งเสริมความรู้ กลไกด้านการให้บริการและกลไกด้านเครือข่ายทางสังคมที่สามารถช่วยบรรเทาทุกข์หรือแก้ปัญหาแก่ผู้ที่เข้ามาขอรับบริการในพื้นที่

Author Biography

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

-

References

กนกวรรณ คชสีห์ และเอกรินทร์ อนุกุลยุทธธน. (2562). มิติการใช้พื้นที่สาธารณะและบทบาทความเป็นชุมชนดั้งเดิมในเมืองเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – มิถุนายน2562, หน้า6 - 18.

กิตติ เชาวนะ และคัทลียา จิรประเสริฐกุล.(2560). ข้อสังเกตจากการศึกษาเรื่องปรากฏการณ์ของพื้นที่สาธารณะในหมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน – ธันวาคม2560, หน้า 1701 – 1719.

จิรัฐฏ์ ปรัชญาแก้วไสล. (2563). แนวทางการพัฒนาพื้นที่ว่างใต้ทางด่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ กรณีศึกษา: ทางด่วนฉลองรัช (บริเวณบึงพระราม 9). วารสารสาระศาสตร์, ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกันยายน – ธันวาคม 2563, หน้า 949 - 964.

ชลวิทย์ เจียรจิตต์ และคณะ. (2565). นวัตกรรมทางสังคมกับแนวทางการพัฒนาเครือข่าย สัมมาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมีนาคม – เมษายน 2565, หน้า 1 – 14.

ชวิตรา ตันติมาลา. (2560). พื้นที่สาธารณะและการผลิตพื้นที่: ความหมายใหม่ของความสัมพันธ์ทางสังคม.วารสารบรรณศาสตร์ มศว, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – มิถุนายน 2560, หน้า 92 - 103.

พระมนตรี ปญฺญาทีโป. (2526). การพัฒนาปัญญา: ทำไมต้องมีการพัฒนาปัญญา. วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – มิถุนายน 2526, หน้า 1 – 14.

พระศรีรัตนวิมล. (2563). การให้คำปรึกษาเยาวชนตามหลักภาวนา. Journal of Roi Kaensarn Academi, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม2563, หน้า 183 – 195.

พฤฒภควัต เพ็งตะโก. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับกิจกรรมนันทนาการ เพื่อพัฒนาจิตใจของวัยรุ่นในสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม2561, หน้า 186 – 201.

พสุ วุฒินันท์ และนาฏนภางค์ โพธิ์ไพจิตร์. (2564). แนวทางการให้คำปรึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม. วารสารพุทธจิตวิทยา, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – มิถุนายน2564, หน้า 10 – 18.

เมธี พิริยการนนท์ และนพดล ตั้งสกุล. (2564). ปริทัศน์บทความ: เรื่องพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ทางวัฒนธรรม และพื้นที่สาธารณะทางวัฒนธรรม. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมไทย, ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – มิถุนายน2564, หน้า 134 - 158.

ลลิลทิพย์ รุ่งเรือง. (2555). ที่ว่าง ที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนทางสังคม : กรณีศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่าง และการปฏิบัติการทางสังคมของพื้นที่เมืองเก่าลำพูน. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน 2555, หน้า 14 - 32.

วัฒนพล อยู่สวัสดิ์ พงศ์ตะวัน นันทศิริ และวิบูลพร วุฒิคุณ. (2564). แนวทางการออกแบบเพื่อส่งเสริมศักยภาพของพื้นที่สาธารณะย่านเมืองเก่าเชียงราย. วารสารวิชาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – มิถุนายน2564, หน้า 65 - 76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-24