ความต้องการของครูต่อแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • อรรถวิทย์ รัตน์เลิศลบ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความต้องการ, กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา, ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้องการและวิธีการพัฒนาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการและวิธีการพัฒนาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน จากข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอบ้านธิ จำนวนประชากร 83 คน โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม

                ผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษาความต้องการภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน พบว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความต้องการภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน แบบผู้สอนงาน แบบประชาธิปไตยและแบบส่งเสริมความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 แบบ ตามลำดับ

                วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ทั้ง 3 แบบ พบว่า 1) แบบภาวะผู้นำแบบผู้สอนงาน พัฒนาให้เป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีทั้งความรู้ ความสามารถทางการบริหาร มีความเป็นผู้นำทางวิชาการในการบริหารการศึกษาสูง ตลอดจนการให้เกียรติลูกน้องกล้าที่จะแสดงออกมาให้เห็นอย่างสม่ำเสมอแสดงความเอาใจใส่ต่อสภาพความเป็นอยู่ของลูกน้องสร้างกำลังใจพร้อมกับมีส่วนช่วยสร้างแรงบันดาลใจความท้าทายของพนักงานให้สำเร็จด้วยการจัดสรรทรัพยากรเครื่องมือที่ดีที่สุดให้ตลอดจนแนะแนวทางที่ช่วยจุดชนวนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แก่ลูกน้อง 2) แบบภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยพัฒนาผู้บริหารให้เปิดใจกว้างต่อข้อเสนอแนะและทางเลือกต่างๆของบุคคลอื่นๆ โดยให้เกิดยอมรับในความรู้ความสามารถและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มศักยภาพ พัฒนาประชาธิปไตยในการทำงานที่จะนำไปสู่ผลงานที่ดีที่สุดอยู่เสมอเป็นที่ยอมรับของครูและผู้ร่วมงานจนครูเกิดศรัทธาต่อการนิเทศ 3) แบบภาวะผู้นำแบบส่งเสริมความร่วมมือ คือพัฒนาผู้บริหารให้มีจิตสำนึกที่ดีเพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบในการทำงานและมีศักยภาพที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จอย่างจริงใจ จริงจัง ต่อเนื่องและทั่วถึง

References

คำพัน รุ่งเรือง. (2556). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เครือข่ายที่ 19 หนองผือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. เอกสารเผยแพร่บทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, ระดับบัณฑิตศึกษา, บัณฑิตวืทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชธานี ปีที่ 3 ฉบับ 6 เดือนพฤษภาคม หน้า 47-57.

จรัส อติวิทยาภรณ์. (2554). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ฐิรศาสตร์ กูลรัมย์. (2556). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในกลุ่มเครือข่ายนารายณ์บรรทมสินธุ์ อำเภอน้ำยืน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. เอกสารเผยแพร่บทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, ระดับบัณฑิตศึกษา, บัณฑิตวืทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชธานี ปีที่ 3 ฉบับ 6 เดือนพฤษภาคม หน้า 144-154.

ดารุณี พิพัฒนผล และคณะ. (2552). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระ, ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). กรรมการสภามหาวิทยาลัย : ภารกิจใหม่กับอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ละอองดาว ปรอยกระโทก. (2557). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศศิพัชร์ ชงโคสันติสุข. (2559). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระ, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

สามารถ สุขภาคกิจ. (2555). ภาวะผู้นำเต็มรูปแบบกับความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษา สถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่ม. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1. (2557). กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560 จาก http://www.lpn1.obec.go.th/main/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27