การใช้หลักโยนิโสมนสิการแนวอริยสัจเป็นฐานการเรียนรู้ด้วยตนเองในการดำรงชีวิต

ผู้แต่ง

  • ดร.ดิลก บุญอิ่ม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

โยนิโสมนสิการ, อริยสัจ, การเรียนรู้

บทคัดย่อ

การเรียนรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มด้วยตนเองโดยมีการกำหนดประเด็นที่จะเรียนรู้ เลือกเป้าหมาย แสวงหาแหล่งทรัพยากรและสื่อต่างๆ เลือกใช้ยุทธวิธีและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง บุคคลที่เรียนรูด้วยตนเอง จะเรียนอย่างตั้งใจ มีจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจสูง มีความเป็นตัวของตัวเองเพิ่มขึ้น สามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง และชี้นำตนเองได้

โยนิโสมนสิการแนวอริยสัจ หมายถึง วิธีคิดที่เป็นไปตามเหตุและผล สืบสาวจากผลไปหาเหตุ แล้วแก้ไขและทำการที่ต้นเหตุที่ตรงจุดตรงเรื่อง โดยมุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำ ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มีความสำคัญ คือช่วยให้เห็นจุดเด่น จุดด้อย หรือส่วนดี และส่วนที่ต้องแก้ไขของภารกิจต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ได้ชัดเจน

รูปแบบการใช้หลักโยนิโสมนสิการแนวอริยสัจเป็นฐานการเรียนรู้ด้วยตนเองในการดำรงชีวิต ควรเริ่มด้วยการกำหนดและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อใช้เป็นฐานของการเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างมีระบบ โดยวิธีการทำความเข้าใจปัญหาการดำรงชีวิต ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจลักษณะปัญหาแต่ละอย่าง จากนั้น วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาแต่ละอย่าง เพื่อใช้เป็นฐานการแสวงหาและใช้ข้อมูลหลายๆ ด้าน ในการคิดแก้ปัญหา จนเต็มความสามารถ โดยวิธีการศึกษาสาเหตุของปัญหา ซึ่งจะช่วยให้รู้ชัดเกี่ยวกับต้นเหตุของปัญหาแต่ละอย่าง จากนั้น ตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาแต่ละอย่างไว้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นฐานการประเมินคุณค่าและตัดสินใจหาทางเลือกให้สอดคลองกับความสามารถและสถานการณปัจจุบัน โดยวิธีการกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขที่ตรงกับสาเหตุ ซึ่งจะช่วยให้เห็นเป้าหมายการแก้ปัญหาแต่ละอย่าง จากนั้น เลือกแนวทางและปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เพื่อเป็นฐานการตัดสินใจที่จะเรียนรูกิจกรรมเฉพาะ โดยวิธีการปฏิบัติตามแนวทางที่วางแผนไว้ ซึ่งจะช่วยให้ปฏิบัติตนให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ ได้

References

คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (2543). ปฏิรูปการเรียนรูผู้เรียนสำคัญที่สุด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. (2541). “ความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองของผู้เรียนผู้ใหญ่ของกิจกรรมการศึกษาผู้ใหญ่บาง
ประเภท”.รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงขยายความ). กรุงเทพฯ: สหธรรมิกจำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุ่ง แก้วแดง. (2542). การปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มติชน.

ลักขณา สริวัฒน์. (2549). การคิด (Thinking). กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2552). พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน .พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกณ์ มหาวิทยาลัย.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ. (2533). จิตวิทยาการเรียนรูวัยผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สมคิด อิสระวัฒน์. (2538).“ลักษณะการเรียนรู้ด้วยตัวเองของคนไทย”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.

Tough, A. (1979). The adult is learning projects. Ontario: The Ontario Institute for studies in Education

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27