การสร้างสัมพันธภาพในการครองเรือนของคู่สมรสเชิงพุทธ

ผู้แต่ง

  • ศิวาพัชร์ ฉัตรเท มจร

คำสำคัญ:

สัมพันธภาพ, การครองเรือน, คู่สมรส

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การสร้างสัมพันธภาพในการครองเรือนของคู่สมรสเชิงพุทธ” ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพในการครองเรือนของคู่สมรส 2) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 และหลักธรรมอื่นๆที่เกื้อหนุนต่อการใช้เป็นฐานการสร้างสัมพันธภาพในการครองเรือนของคู่สมรส 3) เพื่อสังเคราะห์และเสนอแนวทางการสร้างสัมพันธภาพในการครองเรือนของคู่สมรสตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร และเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่อยู่ในสถานภาพสามีหรือภรรยา จำนวน 16 ราย ได้มาโดยวิธีเจาะจง

ผลการวิจัย พบว่า สังคมเกิดขึ้นได้จากครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยคู่สมรส คือ สามีและภรรยา และอาจมีบุตรธิดา และเครือญาติอยู่ร่วมด้วย การเสริมสร้างชีวิตครอบครัวของคู่สมรสให้มีคุณภาพ ควรประกอบด้วยความรักอย่างมีเหตุผล ส่งเสริมภารกิจซึ่งกันและกัน มีความซื่อสัตย์ต่อกัน ให้เกียรติและไว้วางใจกัน ให้ความเคารพบุพการีของกันและกันและร่วมกันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว

การสร้างสัมพันธภาพในการครองเรือนของคู่สมรส ควรใช้หลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ความตั้งใจ) และ วิมังสา (การไตร่ตรอง) เป็นฐานเกื้อหนุนการดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือกัน การร่วมกันแก้ไขข้อบกพรองของกันและกัน การรักษาครอบครัวให้มีความสุข การร่วมกันรับผิดชอบภารกิจการสร้างบรรยากาศในครอบครัวให้น่าอยู่และการเอาใจใส สงเคราะหคนใกล้ชิด รวมทั้งการรูจักการใชสอยเงินทองอยางประหยัด

แนวทางการสร้างสัมพันธภาพในการครองเรือนของคู่สมรสตามแนวพระพุทธศาสนา ทุกคนในครอบครัวควรทำหน้าที่รับผิดชอบตามภาระของตนเอง ช่วยกันทำงานในครอบครัว ดูแลช่วยเหลือญาติพี่น้องและคนข้างเคียงตามความจำเป็นแล้วแต่กรณี ควรปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน เคารพในสิทธิของทุกคนในครอบครัว รู้จักเก็บออมเงินไว้ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในยามจำเป็น และใช้ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ในการทำงานต่างๆ ให้เกิดรายได้ ควรให้ความร่วมมือ ให้คำปรึกษาแนะนำตามความสามารถของตน ตลอดถึงแบ่งปันความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ให้แก่ชุมชนด้วยความเต็มใจ อุตสาหะ ตั้งใจ และไตร่ตรอง

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูนิภาสธรรมาธิมุต. (2553). การแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวตามหลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพน์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

พระเหลาคำ จนฺทสาโร (เทพอักษร). (2558). การศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพครอบครัวด้วยการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท. (วิทยานิพน์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

มัลลิกา สมสกุล. (2543). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของข้าราชการสำนักงบประมาณ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27