บทบาทของบุตรธิดาที่ดีตามคติพระพุทธศาสนา ในชุมชนบ้านดงไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
บทบาท, บุตร, พุทธศาสนาบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง บทบาทของบุตรธิดาที่ดีตามคติพระพุทธศาสนา ในชุมชนบ้านดงไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณสมบัติของบุตรธิดาที่ดีตามคติพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบุตรธิดาที่ดี กรณีศึกษาชุมชนบ้านดงไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 3) เพื่อสังเคราะห์บทบาทของบุตรธิดาที่ดีตามคติพระพุทธศาสนา ในชุมชนบ้านดงไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเอกสาร และการวิจัยข้อมูลการให้สัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อย
ผลการวิจัย พบว่า คุณสมบัติของบุตรธิดาที่ดีตามคติพระพุทธศาสนา บุตรธิดาประพฤติตนด้วยการเว้นอบายมุข ที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม ปฏิบัติตนตามแนวทางของความสุจริต ตั้งใจศึกษาศิลปวิทยา โดยอาศัยกระบวนการอิทธิบาท 4 คือ มีความพอใจ มีความเพียร มีใจจดจ่อ และมีการตริตรอง เชื่อฟังมารดาบิดาในการเลือกคู่ครองที่มีพื้นฐานแห่งเบญจธรรม และมีความสามารถทำงานบริหารทรัพย์สินมรดกให้มีจำนวนเพิ่มพูนขึ้น
คุณลักษณะของบุตรธิดาที่ดี กรณีศึกษาชุมชนบ้านดงไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง บุตรธิดาที่ดีควรดูแลเอาใจใส่ท่านไม่ว่าท่านจะอยู่กับเราหรือไม่ก็ตาม หมั่นไปเยี่ยมเยือนท่านบ่อยๆ อย่าปล่อยให้ท่านอ้างว้างในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ดูแลท่านให้ดี ไม่ทำให้ท่านเสียใจ ไม่ทอดทิ้งท่านให้อยู่โดยลำพังและต้องเคารพกตัญญู และต้องดูแลท่านไปตลอดชีวิต
บทบาทของบุตรธิดาที่ดีตามคติพระพุทธศาสนา ในชุมชนบ้านดงไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง บุตรธิดาที่ดีควรเลี้ยงดูบิดามารดา ด้วยการหมั่นดูแลเอาใจใส่ท่านด้วยความระมัดระวังอันตราย อยู่ใกล้ชิดท่านให้มากๆ ช่วยดูแลในทุกๆ ด้านชอบอะไร ก็จัดหามาให้ติดต่อท่านเสมอ คอยดูแลท่านให้ดี ตั้งแต่เรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค ให้เงินใช้จ่ายสิ่งจำเป็นในชีวิต ทำบุญตามศรัทธาพาท่านทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ช่วยทำงานแทนท่านด้วยความตั้งใจ ปฏิบัติตนตั้งอยู่บนฐานแห่งความดี สร้างฐานะให้มั่นคงส่งเสริมให้ท่านทำบุญทุกโอกาสที่มีอยู่ตลอดปี โดยมีหลักธรรมข้อ “กตัญญูกตเวที” คือ การรำลึกบุญคุณของท่านแล้วทำตอบแทน เป็นฐานการปฏิบัติ เช่นนี้ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นบุตรธิดาที่ดี เพราะทำให้บิดามารดามีความสุข
References
ปราชญา กล้าผจัญ. (2545). คุณภาพชีวิตของมนุษย์นักบริหารกับการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
พรรณี ประเสริฐวงษ์.(2515) การพัฒนาชุมชน: หลักการวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2541). พระในบ้าน. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ :
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรียม ศรีทอง.(2542). พฤติกรรมมนษุย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟเอ็ดเคชั่น.
ศิโรรัตน์ แก้วมงคล. (2546). การพัฒนาคุณภาพชีวิต สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561 จาก https://www. gotoknow.org
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2539). มงคลยอดชีวิตฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
สุชิราภรณ์ บริสุทธิ์. (2549). มงคลชีวิต ๓๘ ฉบับเยาชน. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
เสถียร เหลืองอร่าม. (2517). การจัดองค์การและวิธีปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
Bandura. (2543). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Megginson D and Pedler. (1992) Self-development: a facilitator’ guide. London: McGraw Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ