การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมในชุมชนบ้านปงสนุก อำเภอเมืองลำปาง
คำสำคัญ:
ชีวิต, คุณภาพ, การพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม ในชุมชนบ้านปงสนุก อำเภอเมืองลำปาง” ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม ในชุมชนบ้านปงสนุก อำเภอเมืองลำปาง 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม ในชุมชนบ้านปงสนุก อำเภอเมืองลำปาง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม ในชุมชนบ้านปงสนุก อำเภอเมืองลำปาง เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยเชิงปริมาณ และเชิงสัมภาษณ์
ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม ของกลุ่มตัวอย่าง ในชุมชนบ้านปงสนุก อำเภอเมืองลำปาง จำนวน 317 คน พบว่า ด้านการตระหนักรู้ถึงความจำเป็นโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ด้านการวิเคราะห์ตนเองโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่า 4.35 ด้านการวางแผน โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ด้านการตั้งเป้าหมาย โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 และด้านการปฏิบัติตามแผน โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม ของผู้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ด้านการตระหนักรู้ถึงความจำเป็น ให้เน้นหน้าที่ของตนสอดคล้องกับสถานภาพและบทบาทของตนมีความรับผิดชอบและปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่นจริงจังด้านการวิเคราะห์ตนเองให้ไตรตรองทุกสิ่งที่พบเห็น เมื่อเห็นว่าเป็นประโยชน์ ควรนำมาทดใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม ด้านการวางแผน ให้พิจารณาแผนนั้นๆ ให้สอดคล้องกับความสามารถของตน และบริบททางสังคม ด้านการตั้งเป้าหมาย ให้พิจารณาความสามารถและสติปัญญาและทุนทรัพย์ของตน หากมีความพร้อมจึงค่อยตั้งเป้าหมาย ด้านการปฏิบัติตามแผน ควรมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานตามแผน ไม่ทิ้งงานที่รับผิดชอบ รู้จักฟังคำแนะนำ และมีการยืนหยุ่นวิธีปฏิบัติตามสถานการณ์นั้นๆ
เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมด้านการตระหนักรู้ถึงความจำเป็นต้องเป็นนักฟังที่ดีแล้วนำมาพิจารณานำส่วนดีนั้นมาทดลองใช้ด้านการวิเคราะห์ตนเองการยอมรับฟังคำติชม หรือคำแนะนำจากบุคคลอื่นๆ จะทำให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของตนยิ่งขึ้นด้านการวางแผนควรต้องมีจิตมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามวิธีการที่ระบุในแผนนั้นด้านการตั้งเป้าหมายจำต้องพิจารณาความสามารถและสติปัญญาของตนอย่างรอบครอบว่า จะปฏิบัติงานอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และด้านการปฏิบัติตามแผนการใฝ่เรียนรู้ เข้าหาผู้รู้ น้อมรับคำแนะนำต่างๆ รู้จักแยกแยะพิจารณาและนำมาทดลองปฏิบัติ จะทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเองในการปฏิบัติงาน
References
ธรรญชนก ศรีทิพย์รัตน์. (2557). ภาวะผู้นำ กระบวนการในการวางแผน การประสานงานและการดำเนินงานที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานในองค์กร : กรณีศึกษาพนักงานบริษัท เทเลคอม ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
มยุรี บุญเยี่ยม. (2546). การพัฒนาชุดการเรียน เรื่องความน่าจะเป็นโดยใช้วิธีการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ในการคิดของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
เสถียร เหลืองอร่าม . (2517). การจัดองค์การและวิธีปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2543). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักฯ.
ศิโรรัตน์ แก้วมงคล. (2546). การพัฒนาคุณภาพชีวิต. สืนค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2549, จาก https://www. gotoknow.org
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ