การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • ศุภิสรา สุขศิริปกรณ์ชัย มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร, ธนาคารไทยเครดิต

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อหารูปแบบและสร้างความเชื่อมั่นในวัฒนธรรมองค์กรของธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงาน จำนวน 32 คน จากนั้นนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอในรูปการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมองค์กรของธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) มีลักษณะเป็นแบบแผนในการประพฤติและปฏิบัติของบุคลากรของธนาคาร ซึ่งเป็นผลรวมของความคิด ความเชื่อ ทัศนคติและบรรทัดฐานที่บุคลากรของธนาคารร่วมกันกำหนดขึ้น และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน โดยสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านพันธกิจของธนาคาร และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อมของสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัย 2) รูปแบบวัฒนธรรมองค์กร และความเชื่อมั่นในวัฒนธรรมองค์กรของธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ การให้ความสำคัญกับบุคลากร ความใส่ใจในรายละเอียด ความมั่นคง  การทำงานเป็นทีม และการมุ่งมั่นสู่เป้าหมาย

References

กระทรวงวัฒนธรรม (2552). แผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ 2550-2559. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.

กิติมา อรุณรัตตโนภาส (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับการจัดการความรู้ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ. (งานนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

กริช สืบสนธิ. (2538). การสร้างวัฒนธรรมองค์การสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2553). วัฒนธรรมองค์กร คุณค่าที่ซื้อหาไม่ได้แต่สร้างได้. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

บวร ประพฤติดี. (2558). วัฒนธรรมองค์กรกับความสำเร็จในการบริหาร: เปรียบเทียบสองวัฒนธรรมองค์กร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 5(2), 1-13.

พร ภิเศก. (2546). วัฒนธรรมองค์การและปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการของกองทัพบก. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์กรสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุริยา จันดาหงส์. (2554). การศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพลอยงาม อำเภอบ่อไร่สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาตราด. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2013). Educational administration: Theory, research, and practice.
(9 th ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27