บทบาทผู้นำชุมชนกับการธำรงอัตลักษณ์ประเพณีแห่ดาวบ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
บทบาทผู้นำชุมชน, การธำรงอัตลักษณ์, ประเพณีแห่ดาวบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องบทบาทผู้นำกับการธำรงอัตลักษณ์ประเพณีแห่ดาวบ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการของประเพณีแห่ดาว 2) ศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ประเพณีแห่ดาว 3) ศึกษาบทบาทผู้นำในการธำรงอัตลักษณ์ประเพณีแห่ดาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูล 20 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนท่าแร่ 10 คน คนในชุมชนท่าแร่ 6 คน คนนอกชุมชนท่าแร่ที่เคยเข้าร่วมประเพณี 4 คน จากนั้นนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอในรูปการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเพณีแห่ดาวเกิดขึ้นพร้อมกับการตั้งชุมชนท่าแร่ในค.ศ.1884 (พ.ศ.2427) ซึ่งเป็นชุมชนคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยการนำของบาทหลวงเกโก มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส และครูทัน ครูคำสอนชาวเวียดนาม ที่ได้นำคริสตชน 40 ครอบครัว (เป็นชาวเวียดนาม คนท้องถิ่นที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปอบ) ล่องแพข้ามหนองหานมาอีกฝั่งและตั้งเป็นชุมชนท่าแร่ในปัจจุบัน ประเพณีแห่ดาวเกิดจากความเชื่อทางคริสต์ศาสนาในการเฉลิมฉลองการกำเนิดของพระเยซูเจ้า ที่โหราจารย์ได้ตามดวงดาวไปจนพบสถานที่ประสูติ ชาวคริสต์จึงถือกันว่าดวงดาว เป็นสัญลักษณ์แห่งการประสูติในฐานะเป็นพระผู้ช่วยให้รอด จากอดีตจนถึงปัจจุบันประเพณีแห่ดาวมีวิวัฒนาการ 3 ช่วง คือ ยุคดั้งเดิม ยุควิวัฒนาการ และยุคการท่องเที่ยว 2) รูปแบบอัตลักษณ์ประเพณีแห่ดาว มี 2 ประเภท คือ แห่ดาวแบบดั้งเดิมหรือที่เรียกว่าแห่ดาวมือถือ และแห่ดาวใหญ่หรือขบวนแห่ดาวประกวด ซึ่งทั้งสองเป็นองค์ประกอบหลักของประเพณีแห่ดาวในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมเสริมที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แห่ดาวเป็นที่รับรู้ (Perception) ของคนภายนอก ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน จนกลายมาเป็นอัตลักษณ์ของประเพณีแห่ดาวที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย 3) ผู้นำชุมชน 3 ประเภท คือ ผู้นำทางสังคม ได้แก่ พระคุณเจ้า ที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณคาทอลิกในมิสซังท่าแร่-หนองแสง และในวัดอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ผู้นำทางการเมือง ได้แก่ เทศบาลตำบลท่าแร่ และผู้นำทางธุรกิจ ได้แก่ ผู้ประกอบการในชุมชน มีบทบาทเป็นอย่างมากในการธำรงอัตลักษณ์ของแห่ดาว โดยเป็นผู้กำหนดทิศทาง รูปแบบขั้นตอน และเป็นผู้บริหารจัดการให้กิจกรรมดำเนินไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยผสานความร่วมมือกับชุมชน วัด โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) การสืบสานประเพณีแห่ดาวเป็นหน้าที่ของสถาบันหลักในชุมชนอันได้แก่ บ้าน วัด และโรงเรียน ที่ต้องเป็นผสานความร่วมมือในการปลูกฝังคติความเชื่อ ค่านิยม การตระหนักรู้ถึงคุณค่าประเพณีแห่ดาวแก่เยาวชน ผู้อาวุโสต้องเป็นผู้นำในการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชนและบุคคลภายนอกที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ชุมชนต้องปรับบทบาทของตนเองให้มีความโดดเด่นเป็นแม่งานหลัก ภาครัฐและเอกชนก็ต้องปรับบทบาทตนเองเป็นเพียงผู้สนับสนุน (Supporter) และผู้ประชาสัมพันธ์ (Promoter) อันจะทำให้แห่ดาวธำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
References
เจือจันทร์ วงศ์พลกานันท์. (2549). กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของสตรีชายแดนกลุ่มชาติพันธุ์มอญและปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มพม่าและไทย กรณีศึกษาชุมชนมอญในจังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ชนิดา ชิตบัณฑิต. (2543). การท่องเที่ยวไทย อุตสาหกรรมการขาย สังคมอุดมคติในโลกทุนนิยม. วารสารธรรมศาสตร์, 26(3), 72-102.
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. การสืบทอดทางวัฒนธรรม (Cultural inheritance) ที่ประสบความสำเร็จ. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2561. จาก http://nattawats.blogspot.com/2013/04/cultural-inheritance.html.
บุษบา กิติจันทโรภาส. (2554). เทียนพรรษา รูปแบบการจัดการเพื่อสร้างความร่วมมือในการสืบสานประเพณีแห่เทียนพรรษาของชุมชน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, จังหวัดอุบลราชธานี.
ปราโมทย์ ภักดีณรงค์. (2548). การเมืองสุนทรียภาพผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). กระบวนการพัฒนาและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เมทินา อุทารส. (2552). พัฒนาการและการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ ชุมชนวัดโรมันคาทอลิก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, จังหวัดจันทบุรี.
สุดใจ แก้วแวว. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบประเพณีสงกรานต์ของชุมชนมอญ ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพร้ว จังหวัดสมุทรสาคร กับชุมชนมอญ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, จังหวัดนนทบุรี.
ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2542). การธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมชาวมอญ กรณีศึกษาชุมชนมอญบ้านม่วง ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุตตรา มาลาวาล. (2558). อัตลักษณ์และการดำรงอยู่ของชุมชนคาทอลิกอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, จังหวัดสมุทรสงคราม.
เอื้องฟ้า ถาวรรักษ์. (2555). การอนุรักษ์ สืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านชาวกะเหรี่ยง รำตง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี.
อำพร ปวงรังสี. (2551). กระบวนการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม กรณีศึกษา ประเพณีแข่งเรือ ชุมชนบ้านดอนไชย ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จังหวัดน่าน.
Chansiri, Disaphol. (2006). Overseas Chinese in Thailand : A Case Study of Chinese Emigres in Thailand in the Twentieth Century. Dissertation Abstract International, 66(12), 24-26.
Hobsbawm, Eric., & Ranger, Terence. (1983). Terrence. The Invention of Tradition. Cambridge: Cambridge University press.
Koonphol, Suwitch. (2016). Prapenee Hae Tian Pansa Kue Phumpunya Thongtin, (In Thai) [The Candle Festival is a Local Wisdom 2011. Retrieved February 17, 2018, from http://guideubon.com/news/view.php?t=34&s_ id=4&d_id=4
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ