แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคงโดยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 4
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, บุคลากรทางการศึกษา, เชียงใหม่เขต 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจ 2) ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคงโดยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 4) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 4 จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคงโดยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 4 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับน้อย 2) ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคงโดยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 4 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคงโดยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 4 พบว่า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้ 1) วางแผนการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับการพัฒนาตนเองอย่างเป็นขั้นตอนตามศักยภาพไม่สุดโต่งหรือเบียดเบียนผู้อื่น อย่างมีภูมิรู้และภูมิธรรม 2) เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ความเข้าใจคำว่า พอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกัน ความรู้ ทางด้านทฤษฎีและตัวอย่างการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม 3) ให้ประสบ การณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม คือ พาไปศึกษาดูงานของผู้ที่ดำเนินชีวิต/การทำงานที่ของผู้ที่ประสบความสำเร็จของการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำผู้บริหารและบุคลากรเข้าค่ายคุณธรรม ปฏิบัติธรรมของมูลนิธิยุวสถิรคุณ ที่จะเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ 4) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจ เพื่อให้เกิดความตระหนัก และมีจิตใจอยากนำไปประยุกต์ใช้ 5) กำหนดให้ข้าราชการและลูกจ้างหน่วยงานภาครัฐ ทำหน้าที่ ให้ดีที่สุด เป็นตัวอย่างการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ 6) จัดทำแผนบัญชีรายรับ รายจ่ายของแต่ละคน แต่ละเดือนในครอบครัว 7) ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยผู้บริหารทำตนเองเป็นแบบอย่าง 8) จัดอบรม HA แก่ทีมงานอย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี 9) พัฒนาหลักสูตรการบริหารความเสี่ยงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคคลากรโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใช้หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มาใช้ในการทำงานและดำเนินชีวิต 10) ส่งเสริมการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจคุณธรรมทางวิชาการในการทำงาน การดำเนินชีวิตที่หลากหลายและต่อเนื่องตลอดชีวิต เพราะองค์ความรู้จะมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง
References
กันตยา มานะกุล. (2550). การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านจอมจันทร์ หมู่ที่ 2 ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
กำธร ทาเวียง . (2553). การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. (การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
นภาพรรณ วงศ์มณี. (2553). การนำแนวทางปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน : กรณีศึกษา ชุมชนทรายทอง ตำบลเจริญเมือง อำเภอพานจังหวัดเชียงราย. สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุริยาสาสน์.
บุญโชติ เกตุแก้ว. (2556). คุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรฝ่ายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพชรบุร. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(2), 43-56.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2545, 25 พฤศจิกายน). รื่นร่ม-รมเยศ. มติชนรายวัน, น. 5.
สำนักงานเลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2560). รายงานความคืบหน้าของคณะกรรมการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชา เรื่อง การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิรูปประเทศ สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.
กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2550). การพัฒนาครูเป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติ. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://school.obec.go.th/kroosakon/news/view.php?no=107.
อนุชา พิมายนอก (2558).ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านน้ำซับ ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ