ผลสัมฤทธิ์และเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปา
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติทางการเรียนซิปปาบทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยการวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาและการเรียนการสอนแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาและการเรียนการสอนปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดรุณาราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ทั้งหมด 2 ห้องเรียน จำนวน 80 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่น 0.898 และแบบวัดเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่น 0.709 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาสูงกว่าการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) เจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาสูงกว่าการเรียนการสอนแบบปกติ
References
ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: CIPPA MODEL. วารสารวิชาการ, 3(1), 2-30.
ประวิตร ชูศิลป์. (2542). หลักการประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัด.
วชิรญาณ์ บุญราศรี. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับการจัดการเรียนแบบซิปปา (CIPPA) กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). สาระและมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2542 – 2549). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
อัศวิน พุ่มมรินทร์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA) เรื่อง ลำดับอนุกรมที่มีต่อความสามารถที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Dewey, J. (1963). Experience and Education. New York: Macmillan Publishing Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ