ท่าไม...ความอดทนของคนเราทุกวันนี้จึงตกต่่าลง และสัจธรรมค่าสอนที่ส่าคัญของพุทธศาสนาจะช่วยแก้ไขสภาวะทางจิตใจของคนเราได้อย่างไร ?
คำสำคัญ:
ความอดทนคนเราตกต่ำลง, สัจธรรมคำสอนของพุทธศาสนา, แก้ไขสภาวะทางจิตใจบทคัดย่อ
การใช้ชีวิตท่ามกลางสื่อดิจิตอลที่มีความรวดเร็ว เพียงแค่คลิกเดียวก็สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากทั่วโลก ทำให้คนเราในทุกวันนี้ คิดเร็ว ทำเร็ว และตัดสินใจเร็ว จนมีพฤติกรรมแบบความเคยชิน กลุ่มบุคคลที่เป็นต้นแบบหรือตัวแบบ ล้วนประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย จึงเป็นการตอกย้ำให้คนรุ่นใหม่ๆ ทำในสิ่งที่เห็นผลเร็ว เสพติดความเร็ว มีความอดทนต่ำและไม่รู้จักการรอคอย ทุกสิ่งทุกอย่างคือ "ความไม่แน่นอน" ชีวิตของคนเราแขวนอยู่บนความไม่แน่นอน
สังคมที่เราอยู่วุ่นวายกันในทุกวันนี้ ก็เป็นเพราะเรื่องการไม่ได้นำหลักธรรมคำสั่งสอนมาปฏิบัตินำมาปรับและประยุกต์ใช้ได้กับการดำเนินชีวิต จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สังคมเปลี่ยนไป เราอยากให้ทุกสิ่งสนองความต้องการได้ทันที และอยากให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และในวิธีที่เราต้องการ สัจธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา จะช่วยแก้ไขสภาวะทางจิตใจ ได้เช่น การได้รับรู้ว่า กรรมคืออะไร กิเลสคืออะไร ทำไมพุทธศาสนาไม่เน้นเรื่องความสุขที่ทุกคนต้องการ ทำไมพุทธศาสนาเน้นเรื่องทุกข์ อริยสัจ 4 สำคัญอย่างไร ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร ? ที่จะโน้มนำไปสู่ 1) ปล่อยวางความโกรธ 2) มีความรักและปรารถนาดีต่อผู้อื่น 3) อย่าคิดแก้แค้น 4) สวดมนต์แผ่เมตตา 5) แสวงหาความสุขภายใน 6) อุปสรรคคือบททดสอบชีวิต 7) มีทัศนะมุมมองที่ดี และ 8) เรียนรู้จากบทเรียน
References
พุทธทาสภิกขุ. (2541). ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สุราษฎร์ธานี: มูลนิธิธรรมทาน.
มรดกที่ขอฝากไว้. (2541). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
ผู้จัดการ (ออนไลน์). (2555). ASTV, Dhamma. Class 12, ฉบับที่ 137 พฤษภาคม 2555 จาก https://mgronline.com
วศิน อินทสระ. (2545). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: เรือนธรรม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ