วิเคราะห์พระเจ้าทรงเครื่อง ในล้านนาตามแนวพุทธศิลป์

ผู้แต่ง

  • พระนิติพัฒน์ อุชุจาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พระเจ้าทรงเครื่อง, ล้านนา, พุทธศิลป์

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบพุทธศิลป์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวความคิด ความเชื่อ และการสร้างพระเจ้าทรงเครื่องในล้านนา 3) วิเคราะห์พระเจ้าทรงเครื่องในล้านนาตามแนวพุทธศิลป์ ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก        พระไตรปิฎก อรรถกถา และตำนานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระเจ้าทรงเครื่องในล้านนา และสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะ นักวิชาการประวัติศาสตร์พุทธศิลป์ และปราชญ์ล้านนา

            ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบพุทธศิลป์ในพระพุทธศาสนา คือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมและเผยแผ่พระพุทธศาสนา และโน้มน้าวให้พุทธศาสนิกชน มีความเลื่อมใส​ศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา 2) ในด้านความคิดความเชื่อ และการสร้างพระเจ้าทรงเครื่องในล้านนา จากคติของชมพูปติสูตร หรือเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธเจ้า เดินทางไปโปรดแก่พญาชมพูบดี ที่มีความคิดเป็นมิจฉาทิฐิ ว่าตนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่มีผู้ใดเทียบได้ โดยพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรดพญาชมพูบดีโดยการใช้อภินิหาร พญาชมพูบดี ก็ได้ลดทิฐิมานะ หันมานับถือพระพุทธศาสนา พบในคัมภีร์อรรถกถาภาษาบาลี และหนังสือรัตนพิมพ์วงศ์ และหนังสือจามเทวีวงศ์ 3) ในด้านพระเจ้าทรงเครื่องในล้านนาตามแนวพุทธศิลป์นั้น มีการสร้างอย่างประณีต มีความละเอียดอ่อนของลายที่เป็นเครื่องทรง บ่งบอกถึงความศรัทธาของเจ้าภาพที่มีต่อพระพุทธศาสนา และช่างที่มีความรู้ความสามารถในงานประติมากรรม อย่างสูง การออกแบบลายเครื่องทรงของพระเจ้าทรงเครื่องเป็นเอกลักษณ์ของดินแดนล้านนา และมีค่าสูงยิ่งในทางของพุทธศิลปกรรม

References

คณะอนุกรรมการด้านการศาสนางานสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี. (2540). มรดกศาสนาในเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะอนุกรรมการจัดทำจดหมายเหตุสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี.

จีรพันธ์ สมประสงค์. (2524). ศิลปะประจำชาติ ศป. 231. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2560). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี: มิวเซียมเพร.

พิริยะ ไกรฤกษ์. (2551). พระพุทธปฏิมาอัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2560). รู้เรื่องพระพุทธรูป. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.

สัมภาษณ์ สุรชัย จงจิตรงาม, อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๒

สัมภาษณ์ สุรชัย จงจิตรงาม. อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๒.

สัมภาษณ์ สุวิน มักได้. อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๒.

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. (2550). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีกรมศิลปากร.

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์. (2531). เรื่องโบราณคดี พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์). กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2558). พระพุทธรูปตามคติชาวล้านนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-04