วิเคราะห์คติความเชื่อเชิงปรัชญาในประเพณีการเลี้ยงผีดง

ผู้แต่ง

  • PHRA PASITTHIDETH CHALEUNSOUK มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ประเพณีเลี้ยงผีดง, ผีดง, คติความเชื่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประเพณีการเลี้ยงผีดง 2) เพื่อศึกษาคติความเชื่อในประเพณีการเลี้ยงผีดง
3) เพื่อวิเคราะห์คติความเชื่อเชิงปรัชญาในประเพณีการเลี้ยงผีดง ที่มีต่อชาวเมืองเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

                พบว่า 1) ประเพณีการเลี้ยงผีดงของคนเชียงใหม่มีปรากฏอยู่ทั้งในเอกสารโบราณและมุขปาฐะของชาวบ้าน ผีดงเป็นยักษ์ชอบกินเนื้อคนตำนานเล่าว่า วันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมากับสาวก ยักษ์ก็จะจับพระพุทธเจ้ากิน แต่ท่านทรงแสดงอภินิหาริย์ ทรมาน แผ่เมตตาทำให้ยักษ์กลัวเกรง และยอมรับศีลห้า แต่ด้วยวิสัยยักษ์ จึงขอเปลี่ยนจากการกินคนเป็นกินควายแทน เป็นที่มาของประเพณีเลี้ยงผีดง 2) ด้านคติความเชื่อในประเพณีการเลี้ยงผีดง พบว่า การเลี้ยงผีดงช่วยให้ชาวบ้านในเขตหรือบริเวณนั้นอยู่เย็นเป็นสุข ด้วยความเชื่อว่ายักษ์สองผัวเมียจะได้ปกปักรักษาประชาชนให้ปลอดภัยจากการไปหาของป่าและทำให้ฟ้าฝนก็ตกตามฤดูกาล ถ้าปีไหนไม่เลี้ยงผีดง จะทำให้ เกิดภัยพิบัติ เช่น โรคระบาดและการเกิดทุกข์ภัยต่างๆ จึงมีประเพณีการเลี้ยงผีดงสืบมา 3) ในด้านการวิเคราะห์คติความเชื่อเชิงปรัชญาในประเพณีการเลี้ยงผีดงที่มีต่อชาวเชียงใหม่ พบว่า พิธีเลี้ยงผีดง สะท้อนถึงการประสานทางวัฒนธรรมระหว่างคติความเชื่อดั้งเดิมกับพุทธศาสนา ระหว่างกลุ่มชนพื้นเมืองกับกลุ่มชนที่เข้ามาอยู่ใหม่ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวเมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณ ซึ่งทุกปีชาวบ้านยังทำการเลี้ยงจนถึงปัจจุบัน

References

พระอริยานุวัตร เขมาจารีเถระ. (2536). คติความเชื่อของชาวอีสาน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาหมวด สุกฺกธมฺโม. (2557). การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องความเคารพในพระพุทธศาสนา.
(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

อาสา คำภา. (2555). การเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมและคติความเชื่อการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะอารักเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-04