ลีลาการเทศน์มหาชาติในท้องถิ่นล้านนา
คำสำคัญ:
ลีลาการเทศน์, มหาชาติ, ท้องถิ่นล้านนาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลีลาภาษาระดับคำและประโยคและวิเคราะห์ลีลาภาษาระดับข้อความในวรรณคดีเทศน์มหาชาติล้านนาเรื่อง มหาเวสสันดรชาดกโดยใช้ข้อมูลจากคัมภีร์เทศน์มหาชาติฉบับวิงวอนหลวงและพระนักเทศน์ในจังหวัดเชียงใหม่และใช้กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ตัวบท คือ แนวคิดสุนทรียศาสตร์ซึ่งผู้วิจัยปรับประยุกต์ใช้แนวคิดของ วรวรรธน์ ศรียาภัย การจำแนกหมวดคำ ชนิดและโครงสร้างของวลีของวิจินต์ ภาณุพงศ์ใน 2 ประเด็นคือ 1.ลีลาภาษาระดับคำและประโยค และ 2.ลีลาภาษาระดับข้อความได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของปฏิพันธ์ อุทยานุกูล เป็นการใช้ภาษาที่มุ่งให้เกิดความงามในลักษณะภาพพจน์ และรสวรรณคดี
ผลกการวิจัยพบว่า การเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ลีลาการใช้ระดับคำจะเห็นว่า คำในคัมภีร์เทศน์เป็นคำภาษาไทยกลางบ้าง ภาษาถิ่นเหนือบ้างแต่เวลาพระเทศน์จะเปลี่ยนเสียงเป็นภาษาท้องถิ่นล้านนา ทำนองและจังหวะลีลาประกอบกันจึงมีการต่อเติมคำบ้าง ละคำบางคำในประโยคบ้างตามบริบทของพื้นที่และเวลาเช่นคำเดี่ยวว่า ถึง เป็น เถิง หรือถ้าเขียนว่า เถิง มักเอื้อนเสียงว่า เติง และคำมากพยางค์ว่า ตระกูล เวลาเทศน์จะเปลี่ยนเสียงเป็น ขะกูล เป็นต้น ส่วนลีลาในคัมภีร์ระดับประโยคเช่น การซ้ำคำในแต่ละประโยคฟังแล้วเกิดความไพเราะว่า ตัวอะไรจักว่านกเค้าแต่ยังไม่ใช่ จักว่าลิงดง แต่ก็ยังบ่ใช่ จักว่ากวางฟานมี 4 เท้า แต่ทำไมมันปีนต้นไม้ได้ เป็นต้น และระดับข้อความ เช่น “พระยาเนื้อทังสาม อันมีตัวงามพีใหญ่ ขออิ่นดูกูนางหน่อท้าว น้องแห่งสูเจ้าชื่อว่ามัทที”จากข้อความพบว่า การใช้กลุ่มคำ 1 หรือ 2 ประโยคเพื่อขยายคำว่า มัทที
References
วาทิต ธรรมเชื้อ. 2555. การศึกษาวรรณกรรมล้านนาเรื่องมหาชาติภาคพายัพ ฉบับสร้อยสังกร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศลปากร.
ประคอง นิมมานเหมินทร์,ศาสตราจารย์. 2526. มหาชาติลานนา : การศึกษาในฐานะที่เป็นวรรณคดีท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
บุญคิด วัชรศาสตร์.2545. มหาชาติเรื่อง พระเวสสันดรชาดก ฉบับวิงวอนหลวง. เชียงใหม่.
ดวงมน จิตร์จำนง (2541)
จิตรลดา สุวัตดิกุล (2554, หน้า 211-239)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ