การใช้รูปแบบการสอนเอสเอวีไอ (SAVI) ในรายวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องการเฉลิมฉลอง (Celebrations) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการฟัง และอ่านคำศัพท์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเกษมวิทยา

ผู้แต่ง

  • อินทุอร ลาเทศ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การจัดการเรียนรู้รูปแบบเอสเอวีไอ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการฟังและการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่องการเฉลิมฉลอง (Celebrations) ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบเอสเอวีไอ (SAVI) 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบเอสเอวีไอ (SAVI) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเกษมวิทยา โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการฟังและการอ่านคำศัพท์เรื่องการเฉลิมฉลอง (Celebrations) ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอวีไอ สถิติที่ใช้ในการวิจัยค่าเฉลี่ยเลขคณิต เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่า (t-test) ชนิด Paired Samples Test จากผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการฟังและอ่านคำศัพท์ เรื่องการเฉลิมฉลอง(Celebrations) โดยใช้รูปแบบเอสเอวีไอ (SAVI) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ พบว่านักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชลดา รักแจ้ง. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

(พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวัฒน์ ลำภีลานนท์. (2550). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร).

มาธุสร โพธิ์จันทร์. (2560). การศึกษาเจตคติทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบพีโออี (POE) รายวิชาเคมี เรื่องธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยภัฏสวนสุนันทา).

แรกขวัญ นามสว่าง. (2558). การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณทิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).

ลัดดา หวังภาษิต. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณทิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การวัดและประเมินผลแนวใหมเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาวดี คงจันทร์. (2556). ผลการสอนภาษาอังกฤษด้วยวิธีสอนอ่าน DR-TA ร่วมกับการใช้เพลงสากลที่มีต่อความสามารถในการฟังและความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ).

อัญชลี ฉิมพลี. (2551). ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดินเรื่อง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Lahaderne, H. M. (1968). Attitudinal and intellectual correlates of attention: a case study of four sixth-grade classrooms. Journal of Education Psychology, 59(5), 320-324.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29