การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตร

ผู้แต่ง

  • อนุมัติ มะรือสะ โรงเรียน

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, หลักสูตรอิสลามศึกษา, โรงเรียนประถมศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 255 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากวิธีการสุ่มแบบง่ายโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน (Yamane) จำนวน 156 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 5 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาวรรณกรรมและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 2) กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 3) สร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 4) รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง และ 5) วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการศึกษา เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

                ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = 0.46 ) (2) โมเดลภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนของครู ด้านการใช้กลยุทธ์ในการบริหารงานวิชาการ และด้านการนเทศติดตามผลการจัดการเรียนการสอนของครู มีตัวแปรดัชนีชี้วัดขององค์ประกอบทั้งหมด  13 ตัวแปร มีค่า Chi-square เท่ากับ 104.359 ค่า P-value เท่ากับ .001 ค่าองศาอิสระ (d.f.)  เท่ากับ 63 ค่า CMIN/df เท่ากับ 1.656 ค่า NFI เท่ากับ .917 ค่า CFI เท่ากับ .965 ค่า IFI เท่ากับ .965 และค่า RMSEA เท่ากับ .065

References

กิตติพงษ์ พงค์ยะ. (2553). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง).

กิรดา โชติช่วง. (2553). ปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนต้นแบบในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ประยูร อาคม. (2548). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายอำเภอสังคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

วิรุฬ เกิดภักดี. (2551). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสำนักงานเขตบางขุนเทียน. (สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-04