การพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • นางสาวพนัญญา ชนะสุข มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาบุคลากร, กระทรวงอุตสาหกรรม, การฝึกอบรม, การศึกษาต่อ, การพัฒนาตนเอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของข้าราชการที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และระยะเวลารับราชการ แตกต่างกัน และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการโดยรูปแบบการวิจัยเชิงผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ จากการใช้แบบสอบถาม จำนวน 344 คน ซึ่งมาจากใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ในการหาจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่าง และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple probability  of selection) และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test/
One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference)

            ผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรมที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ 1) ด้านการฝึกอบรม 2) ด้านการศึกษาต่อ และ 3) ด้านการพัฒนาตนเอง ตามลำดับ และจากการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า ข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรมที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลารับราชการแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาบุคลากรกระทรวงอุตสาหกรรม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาบุคลากรกระทรวงอุตสาหกรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

            แนวทางการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรมพบว่า 1) ด้านการฝึกอบรม ควรรักษามาตรฐานการฝึกอบรมให้เป็นที่ยอมรับของบุคลากร การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมให้ครอบคลุมทุกตำแหน่งงาน พัฒนารูปแบบ วิธีการ และเนื้อหาการฝึกอบรมให้มีความทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรและองค์กรได้ 2) ด้านการศึกษาต่อควรรักษาระดับการพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อ และควรเพิ่มเติมการพัฒนาการศึกษาต่อในหลากหลายสาขาวิชา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ในเรื่องทุนการศึกษา และออกแบบสาขาวิชาที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการศึกษาต่อของบุคลากรในหน่วยงานให้สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ตรงกับการปฏิบัติงาน 3) ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเองควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีการสร้างแหล่งการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการศึกษาเรียนรู้ให้มากยิ่งขึ้นตลอดจนสร้างพื้นที่เพื่อให้บุคลากรได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560-2564. สืบค้น 10 เมษายน 2561, จาก http://www.industry.go.th/center_mng/index.php/2016-04-24-18-07-42/2016-04-24-18-09-38/2016-04-24-18-10-07/item/9493-2560-2564

จีระสุข ชินะโชติ. (2552). ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสถานีวิทยุ กระจายเสียงแห่งประเทศไทย. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต).

ทิพวรรณ บัวงาม. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของศาลยุติธรรมภาค 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).

พิไลวรรณ อินทรักษา. (2550). การดำเนินงานในส่วนงานการฝึกอบบรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พรทิพย์ สุติยะ. (2550). ปัจจัยจูงใจในการท้างานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาในอำเภอเมืองเชียงใหม่ .เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วนิชา แสนร่มเย็น. (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

เอกพงศ์ ต่อม. (2556). ความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 9 อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้น 10 เมษายน 2561, จาก http://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_Draft

planApr2018.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29