การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, นักศึกษา, อาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาครบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีเพศ อายุ ประเภทวิชา ระดับชั้นปี ที่แตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัย เชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์จากผู้บริหาร จำนวน 5 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 274 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวม ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ย 3.34 ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง มีค่าเฉลี่ย 3.18 ด้านการรณรงค์ทางการเมือง มีค่าเฉลี่ย 2.79 และด้านการชุมนุมทางการเมือง มีค่าเฉลี่ย 2.54 ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีประเภทวิชา และระดับชั้นปีต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีเพศและอายุต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ควรติดตามข่าวสารทางการเมืองในส่วนของข้อมูลที่มีความสำคัญ และมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้านการรณรงค์ทางการเมือง ทุกคนควรเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรณรงค์ทางการเมืองเพราะการรณรงค์ทางการเมืองเป็นกิจกรรมขับเคลื่อนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้านการร่วมชุมนุมทางการเมือง ควรเข้าร่วม การชุมนุมทางการเมืองอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์โดยจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ด้านการลงคะแนนเลือกตั้ง ควรใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งทุกครั้งที่สามารถกระทำได้ และควรให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งในทุกระดับ เพื่อแสดงให้เห็นว่านักศึกษาเป็นผู้รู้หน้าที่ และรักษาสิทธิที่ตนเองมีตามวิถีทางแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
References
ฐานิตา เฉลิมช่วง. (2559) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในระดับเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัย, 10(1), 82-90.
เทิดศักดิ์ ยอแสงรัตน์ และ วราภรณ์ เทพสัมฤทธิ์พร. (2560). ทัศนคติการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(2), 37-57.
บุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศร์สาร, 12(1), 151-164.
เพิ่มศักดิ์ วรรณยิ่ง, ณัฐวีร์ บุนนาค และ จตุพร บานชื่น. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการการวิจัย : ฉบับบัณฑิตศึกษา, 5(1), 150-160.
สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
สุกฤตา จินดาพรม. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีไทยในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของภูมิภาคตะวันตก. วารสารการเมืองการปกครอง, 3(2), 118-133.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ