การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะหลักและสมรรถนะตามหน้าที่ของบุคลากรเพื่อรองรับธุรกิจการจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการแสดงสินค้าในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Mayuree Somboon วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, ธุรกิจการจัดประชุม, การท่องเที่ยว, การแสดงสินค้าในจังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและหาช่องว่างสมรรถนะหลัก และสมรรถนะตามหน้าที่ ที่เหมาะสมกับบุคลากรธุรกิจไมซ์ (MICE) ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดช่องว่างสมรรถนะ 3) ประเมินหลักสูตรการฝึกอบรม รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน พื้นที่วิจัย คือ สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักศึกษาระดับอุดมศึกษา สาขาท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ 3 ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 255 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง 2) กลุ่มตัวอย่างทดลองในการพัฒนา จำนวน 48 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบความสมัครใจ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t test และการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะที่เหมาะสมในการจัดการธุรกิจไมซ์ (MICE) ในจังหวัดเชียงใหม่ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก 15 สมรรถนะเช่น ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า ทักษะการสื่อสารที่ชัดเจน และสมรรถนะตามหน้าที่ 9 สมรรถนะ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการจัดประชุม การจัดแสดงสินค้า เป็นต้น และพบว่าต้องเร่งพัฒนา 8 สมรรถนะหลักและ 5 สมรรถนะตามหน้าที่ จากการจัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล 2) นำหลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วยสมรรถนะ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ (Knowledges) ด้านทักษะ (Skills) และด้านคุณลักษณะ (Attributes) ภาคทฤษฎีใช้เวลา 4 วัน วันละ 6 ชั่วโมงรวมทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติจากการปฏิบัติงานจริง จำนวน 26 ชั่วโมง สำหรับงานระดับภูมิภาครวม 50 ชั่วโมง และระดับนานาชาติ 70 ชั่วโมงดำเนินการฝึกอบรมกับกลุ่มตัวอย่าง 3) ผลประเมินหลักสูตรฝึกอบรม พบว่าผลประเมินคะแนนทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับหลังการฝึกอบรมของกลุ่มตัวอย่าง 48 คนอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Author Biography

Mayuree Somboon, วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 





References

กองทุนส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ. (2557). คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน ผู้ประสานงานและผู้วางแผนปฏิบัติการไมซ์ (ไทย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ขัตติยา กลัญทกะปกรณ์. (2557). กลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจไมซ์ในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีป อภิสิทธิ์. (2538). เทคนิคการเป็นวิทยากรและฝึกอบรม. กรุงเทพ: ต้นอ้อ.

ธานินทร์ สุภาแสน. (2556, 18 มิถุนายน). สัมภาษณ์โดย มยุรี สมบูรณ์ [การบันทึกเสียง]. ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, เชียงใหม่

ปิลันธนา ชมพูพันธ์. (2551). การศึกษาศักยภาพการจัดการประชุมและนิทรรศการของจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

สมคิด บางโม. (2539). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2560). โครงการสำรวจสถิติการจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2561). โครงการสำรวจสถิติการจัดประชุมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์:เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง สมรรถนะข้าราชการไทย. สืบค้น 15 มกราคม 2557, จาก http://ocsc.go.th/veform/PDF/conpetency.pdf.

สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แพ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธิดา สุวรรณกันทา. (2554). ความท้าทายของจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเป็นนครศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้านานาชาติในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและเอเชียใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ศุภวรรณ ตีระรัตน์. (2556, 30 มิถุนายน). สัมภาษณ์โดย มยุรี สมบูรณ์ [การบันทึกเสียง]. รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ, กรุงเทพฯ.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2549). Competency Dictionary. กรุงเทพฯ: เอชอาร์เซ็นเตอร์.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competency Rather Than for Intelligence. American Psychologist. 29(1), 3-4.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace & World.

Tyler, R.W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29