นวัตกรรมการเป็นผู้นำ

ผู้แต่ง

  • จักรวาล สุขไมตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ผู้นำ, ภาวะผู้นำ

บทคัดย่อ

ผู้นำเป็นบุคคลที่เป็นหัวหน้า หรือผู้บังคับบัญชาที่มีสิทธิในการใช้อำนาจ ใช้อิทธิพล กับผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้นำควรต้องมีภาวะผู้นำด้วย โดยมีความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ ที่จะตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีลักษณะเป็นผู้นำที่ดี มีความสามารถในการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเห็นและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ สงบเยือกเย็น นอบน้อมถ่อมตัว ตัดสินปัญหาที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที มีความเป็นกลาง ยืดหยุ่น กล้าหาญ
ร่าเริง มองโลกในแง่ดี มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์มั่นคงไม่แปรปรวน เสมอต้นเสมอปลาย ซื่อสัตย์ สุจริต มีศีลธรรม มีคุณธรรม และจริยธรรม

ดังนั้น การที่จะให้ผู้นำมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ผู้นำต้องมีความสามารถในการคิดแบบใหม่ ๆ รู้จักการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน หรือวิธีปฏิบัติงานให้มีความเป็นทันสมัยให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งผู้นำจะต้องสร้างนวัตกรรมให้กับตนเอง โดยปรับเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองให้เกิดการพัฒนาตนเองในสิ่งใหม่ ๆ เกิดวิธีการในการปฏิบัติงานใหม่ ๆ รู้จักและสามารถนำเทคโนโลยีต่างๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา หรือองค์กร และพัฒนาภูมิปัญญาของตนเองให้เพิ่มสูงขึ้น มีความคิดในเชิงบวก สิ่งใดเป็นสิ่งที่บกพร่องที่ต้องแก้ไข ก็ยอมรับในการปรังปรุงแก้ไข ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตนเอง รับฟังความคิดเห็นของทุก ๆ ฝ่าย ยึดถือประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน ตลอดจนมีความเมตตา กรุณา มีคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2556). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กวี วงศ์พุฒ. (2536). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชี.

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขันทอง ใจดี, วันจักร น้อยจันทร์ และ กัลป์ยกร สังขชาติ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของกำลังพลกรมทหารพรานที่ 42 ตำบลท่าประดู่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 154-169.

จักรวาล สุขไมตรี และ พระมหาแว่นภูวิญญิ์ กิตฺติปญฺญฺ (แสงสุรินทอง). (2560). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาวะผู้นำของผู้ปกครองตามหลักพุทธธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

ชลิดา ศรมณี และ พูนศรี สงวนชีพ. (2532). การบริหารงานบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2538). พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธงชัย สันติวงษ์. (2545). หลักการบริหารและผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธรรมสารการพิมพ์.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). หลักการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

นิพนธ์ กินาวงศ์. (2545). หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิฆเนศ.

บุญทัน ดอกไธสง. (2545). การจัดการองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฝ่ายวิชาการภาษาไทย. (2553). พจนานุกรมไทย ฉบับทันสมัยและสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สจีวรรณ ทรรพวสุ. (2561). แนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ ในการจัดการศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 102-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24