การเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบ้านแสนคำ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

การเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบ้านแสนคำ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ The Empowerment on the Strengthening forward Puññakiriyà-vatthu of Saen Kom Community Mae Wang District, Chiang Mai Province

ผู้แต่ง

  • พระสัญชัย ญาณวีโร ทิพย์โอสถ มมร วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างความเข้มแข็ง, หลักบุญกิริยาวัตถุ, ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบ้านแสนคำอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่  มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบ้านแสนคำ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์วิธีการเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบ้านแสนคำ 3) เพื่อจัดทำคู่มือการเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบ้านแสนคำ ระเบียบวิธีวิจัยคือเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล  (In-depth interview) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายกลุ่ม  (Focus group interview) แบบสังเกตสภาพแวดล้อม (Observation) แบบสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant observation)

                ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักบุญกิริยาวัตถุมีส่วนทำให้ชุมชนมีการจัดการตนเอง ทำให้ชุมชนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ด้วยการนำพระพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวและเป็นศูนย์กลางจิตใจ จึงทำให้ชุมชนเน้นที่ความผาสุกทางจิตวิญญาณ เน้นสังคมที่มีความสงบสุข เป็นเอกภาพและความสอดคล้องกับการพึ่งตนเอง 2) กิจกรรมในชุมชนคิดขึ้นมาจากการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน มีการสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อความเข้มแข็ง การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งครอบคลุมทุกพื้นที่ ขับเคลื่อนชุมชนด้วยหลักศีล 5 หลักโยนิโสมนสิการ ทิฎฐธรรมิกัตถประโยชน์ ครองชีพอย่างพอประมาณ มีการนำหลักการเจริญกรรมฐานมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต 3) หลักธรรมที่นำมาใช้ก็คือความกตัญญู ความศรัทธา ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา มีคู่มือการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักบุญกิริยาวัตถุ ใช้หลักปัญญาในการดำเนินชีวิตเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ แสดงว่าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชน. กรุงเทพฯ : เอ็กเปอเน็ต.

กฤษฎา บุญชัย. (2541). ความยากจนในชนบท. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2549). การดำรงอยู่ของเพลงพื้นฐานและคุณลักษณะต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษา เพลงอีแซว ชุมชนบ้านลาดป้อม ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจัน จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน. (2553). กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีประเภทขลุ่ยและแคนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ประเวศ วะสี. (2550). ระบบการศึกษาที่คุณธรรมนำความรู้. นนทบุรี: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.

ประเวศ วะสี. (2541). บนเสนทางใหม่ การส่งเสริมสุขภาพ อภิวัฒน์ชีวตและสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบาน.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิกจำกัด.

ยิ่งยง เทาประเสริฐ. (2542). เครือขายชุมชนวิทยาการราชภัฏด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงราย: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการแพทยพื้นบ้านสถาบันราชภัฏเชียงราย.

รัชการย์ วิชชุรังศรี. (2545). แนวคิดและตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านนาหว้า ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.

อาณา สุดชาดา. (2557). การศึกษาบุญกิริยาวัตถุ 3 ที่ปรากฏในประเพณีบุญเดือนสี่ : กรณีศึกษาตำบลนาคาย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-04