การมีส่วนร่วมกิจกรรมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านเชี่ยวหลาน จำกัด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมกิจกรรม, สมาชิกสหกรณ์การเกษตรม, บ้านเชี่ยวหลาน จำกัดบทคัดย่อ
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมกิจกรรมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านเชี่ยวหลานจำกัด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2)เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมกิจกรรมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านเชี่ยวหลานจำกัด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการเป็นสมาชิกต่างกัน 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมกิจกรรมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านเชี่ยวหลานจำกัด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านเชี่ยวหลาน จำกัด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 240 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสถิติ t -test และ F - test รวมถึงการเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้ Scheffe method
ผลการวิจัย พบว่า
การมีส่วนร่วมกิจกรรมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านเชี่ยวหลานจำกัด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการเป็นสมาชิก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านธุรกิจสินเชื่อ ด้านธุรกิจขาย ด้านธุรกิจซื้อ และด้านการรับฝากเงิน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบ การมีส่วนร่วมกิจกรรมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านเชี่ยวหลานจำกัด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการเป็นสมาชิก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมกิจกรรมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านเชี่ยวหลานจำกัด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ ควรช่วยเหลื่อกลุ่มสมาชิกได้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำ ควรดำเนินการในเรื่องของผลิตผลทางการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์เพื่อรวบรวมขายสู่ตลาด หรือรับฝากเก็บรักษาผลิตผล หรือการจัดหาตลาดขายผลผลิตของสมาชิก เพื่อจะได้ราคาดีกว่าขายเอง และเป็นการป้องกันกดราคาสินค้าทางการเกษตรจากพ่อค้าคนกลาง ควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสมาชิกในเรื่องของการซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค และเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรโดยรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก หรือซื้อในราคาขายส่ง ควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสมาชิกในเรื่องเกี่ยวกับระเบียบการและขั้นตอนของการออมทรัพย์ การฝากเงิน ดอกเบี้ยเงินฝาก อันจะให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจ และส่งผลให้การดำเนินชีวิตของสมาชิกมีความเจริญก้าวหน้า ต่อไป
References
บุญมี จันทรวงศ์. ระบบสหกรณ์กับการพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2543.
ส่งศรี ชมพูวงศ์. การวิจัย. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2549.
สำเริง จันทร์สุวรรณ และสุวรรณ บัวทาน. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.
นริศ ขำนุรักษ์, การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานพัฒนาชนบทของสภาตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2538.
บรรเจิด อนุเวช. การมีส่วนร่วม และความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกเฉพาะกรณีอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.
บุญมา แสงกล้า. พ.ต.ท.. “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544.
ประชา แสนกลาง. “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545.
ปรัชญา ศรีภา. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนในการพัฒนาหมู่บ้าน : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2542.
พัชรี พงษ์ศิริ. “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการ”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2541.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ