รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้สูงอายุในชุมชนของเทศบาลตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • supreecha chamnanphuttiphon มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราฃ

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต, หลักพรหมวิหารธรรม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบคุณภาพชีวิตด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุด้วยหลักพรหมวิหารธรรมไปปฏิบัติจริงในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 40 รูป/คน ผู้สูงอายุและผู้ดูแลใกล้ชิด จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เจาะลึกแบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามเชิงปริมาณแบบพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย และ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ

            ผลจากการศึกษาพบว่า

            1) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต้องมีในตัวบุคคลและควรปลูกฝังให้ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นในตน

            2) การพัฒนารูปแบบคุณภาพชีวิตด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้สูงอายุทั้ง 4 ด้าน โดยรวม อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบคุณภาพชีวิตด้วยหลักพรหมวิหารธรรมรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้วยหลักพรหมวิหารธรรม อยู่ในระดับสูง ทั้ง 4 ด้าน

            3) ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนตามสมการพยากรณ์ พบว่า ตัวแปรอิสระที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสมการตามลำดับความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประกอบด้วย ด้านเมตตา (MER) ด้านกรุณา (PLE) ด้านมุทิตา (SYM) ด้านอุเบกขา (DET) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพัฒนาความเชื่อถือได้ของตัวแปรชี้วัด รูปแบบคุณภาพชีวิตด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้สูงอายุ ตัวแปรพยากรณ์ Constant R Square =.30 มีค่าสัมประสิทธิ์การพัฒนาความเชื่อถือได้ที่ปรับแล้วของตัวแปรชี้วัด Adjusted R Square =.28 โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายความผันแปรของรูปแบบคุณภาพชีวิตด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 96.10 (Adjusted R² =.28)

References

ขวัญสุดา บุญทศ และ ขนิษฐา นันทบุตร. (2560). ความสุข ความทุกข์ และสุขภาพจิตผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560, 62(3), 257-270

ทิพย์วรรณ สุทานนท์. (2556). การประยุกต์ใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

ประกิจ เสาร์แก้ว. (2559, 11 ตุลาคม). สัมภาษณ์โดย นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. [การบันทึกเสียง]. นายกเทศมนตรีตำบลป่าไผ่, เชียงใหม่.

พัชรี บอนคำ. (2560). จากพระบรมราโชวาท สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย พลังสร้างชาติ. สืบค้น 25 มิถุนายน 2561, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/39132-จากพระบรมราโชวาท%20สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย%20พลังสร้างชาติ.html

สิริพร สุธัญญา. (2550). พฤติกรรมการดูแลตนเองกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในสวนรมณีนาถ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Berghorn, F.J, & Schafer, D. E. (1981). The Dynamics of aging: Original essays on the process And Experience of growing old. Colorado: Westview press.

Comrey, A.L., & Lee, H.B. (1992). A First Course in Factor Analysis (2nd ed). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associated.

Efficace, F. & Marrone, R. (2002). Spiritual issues and quality of life assessment in cancer care. Death Studies, 26(9), 743-756.

Ferrans C. E. & Power, M. J. (1992). Psychometric assessment of the quality of life index. Research in Nursing & Health, 15(1), 22 - 38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30