รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเกษตรเพื่อนำไปสู่การลดภาวะหนี้สิน ของครัวเรือนเกษตรกร กรณีศึกษา บ้านจู้ด ตำบลลำปางหลวงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • Kart Korree 0801082529

คำสำคัญ:

ภาวะหนี้สิน, วิธีการจัดการหนี้สิน, การปรับตัวของเกษตรกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาวะหนี้สินและวิธีการจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยหรือเงื่อนไขที่มีผลต่อการก่อเกิดการมีภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร และ 3) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนเกษตรที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การลดสภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม แบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ครัวเรือนเกษตรกรบ้านจู้ด หมู่ที่ 5 ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งทำการเกษตรในปีการผลิต 2560/2561 ติดต่อกัน 3 ปี จำนวน 58 ครัวเรือน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และกลุ่มที่ 2 การสนทนากลุ่มโดยคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้แทนครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 8 คน ผู้นำหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 4 คน ผู้อาวุโสหรือปราชญ์ทางการเกษตรหมู่บ้าน จำนวน 2 คน และผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน รวมจำนวน 22 คน และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัย พบว่า 1) ครัวเรือนเกษตรกรมีภาวะหนี้สิน เฉลี่ยครัวเรือนละ 276,427 บาท แหล่งเงินทุนที่มีภาวะหนี้สินมากที่สุด ได้แก่

 

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเกาะคา มีการชำระหนี้สิน เฉลี่ยครัวเรือนละ 61,389 บาทต่อปี 2) ปัจจัยหรือเงื่อนไขสำคัญจากความเห็นของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรที่ส่งผลต่อการก่อเกิดสภาวะหนี้สิน แบ่งเป็น 5 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ 2.1) ด้านสภาพครัวเรือนเกษตรกร ได้แก่ การขาดความรู้และทักษะในการทำการเกษตร และการขาดความสามารถการบริหารจัดการของครัวเรือนเกษตรกร 2.2) ด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ได้แก่ การบริโภคนิยม มีพฤติกรรมซื้อสินค้าผ่อนส่ง และการลอกเลียนแบบ และการไม่รวมกลุ่มกันทำกิจกรรม 2.3) ด้านสภาพแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำ ลักษณะดินแห้งแล้ง และการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช 2.4) ด้านสภาพเศรษฐกิจ ได้แก่ กลไกการตลาดที่ไม่เป็นธรรม และขาดการบริหารจัดการเครื่องมือทำการเกษตร 2.5) ด้านนโยบายทางการเมือง ได้แก่ เงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีไม่เพียงพอ และ 3) รูปแบบการจัดการชุมชนเกษตรที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การลดสภาวะหนี้สิน ได้แก่ ครัวเรือนเกษตรกรควรนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ค่าดิน ควรเพิ่มปริมาณแหล่งน้ำทำการเกษตร ควรทำการเกษตรแบบผสมผสาน ครัวเรือนเกษตรกรควรลดการบริโภคนิยม คือ ควรลดพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่อนส่งและการลอกเลียนแบบ ควรจัดทำบัญชีครัวเรือน และความสัมพันธ์ของชุมชนกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรเป็นความสัมพันธ์ในรูปของเครือข่าย เสริมสร้างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และมีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงแลกเปลี่ยนกัน

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2554). คู่มือ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพตามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจรายตำบล ประจำปีการเพาะปลูก 2554-2556 อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สำมะโนการเกษตร พ.ศ.2556 ทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สำมะโนการเกษตร พ.ศ.2556 ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง (เกษตรทิพย์). (2559). การบริหารจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร (Machinery pool model). สืบค้น 20 เมษายน 2562, จาก https://www.kubotasolutions.com/

knowledge/rice/detail/289

กานดาพันธุ์ วันทยะ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2559). ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.

เกรียงไกร ธุระพันธ์. (2551). ตัวบ่งชี้ครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในชนบท อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

จุราพร จันทร์ขาว. (2558, 4 ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย กาจน์ กอรี [การบันทึกเสียง]. ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ลำปาง.

จิรัฐ ชวนชม, ธิดารัตน์ คายัง, สวรรยา พิณเนียม, ชิดชม กันจุฬา และ นิธิพัฒน์ สุทธิธรรม. (2559). การจัดทำบัญชีครัวเรือนของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ชลัยรัตน์ เพชรรัตน์. (2545). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมโครงการ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของเกษตรกรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์. (2552). การผูกขาดกับความเหลื่อมล้ำในภาคธุรกิจ. ใน การสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2552 เรื่อง การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

นภดล หงส์ศรีพันธ์. (2552). การปรับตัวของเกษตรกรสู่การเกษตรกรรมทางเลือกตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาหมู่บ้านป่าไผ่ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

นิรันดร์ ต๊ะวิชัย. (2561, 7 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย กาจน์ กอรี [การบันทึกเสียง]. ผู้นำชุมชน หมู่ 5 บ้านจู้ด ตำบลลำปางหลวงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง, ลำปาง.

นักข่าวพลเมืองสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. (2559). เกษตรกรไทยปี 59 เป็นหนี้มากขึ้น ชี้ผลผลิตราคาตกและภัยธรรมชาติเป็นสาเหตุมากที่สุด. สืบค้น 20 เมษายน 2562, จาก https://www.citizenthaipbs.net

/node/11670

พิเชษฐ องค์ศิริวิทยา. (2560, 26 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย กาจน์ กอรี [การบันทึกเสียง]. นักวิชาการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง, ลำปาง.

พิมพ์พิชชา ภูทิพย์. (2560, 3 สิงหาคม). สัมภาษณ์โดย กาจน์ กอรี [การบันทึกเสียง]. เกษตรอำเภอเกาะคา, ลำปาง.

พันธ์ทวี สหะรัตน์. (2554). การจัดการดิน. กำแพงเพชร: วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร.

เพิ่มศักดิ์ เพิ่มพูนทวีชัย. (2558, 13 ธันวาคม). ). สัมภาษณ์โดย กาจน์ กอรี [การบันทึกเสียง]. ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร สาขาเกาะคา, ลำปาง.

เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล. (2560). การส่งเสริมการเกษตร. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สม เครื่องชัย. (2561, 13 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย กาจน์ กอรี [การบันทึกเสียง]. กรรมการหมู่บ้าน หมู่ 5 บ้านจู้ด ตำบลลำปางหลวงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง, ลำปาง.

สม พักสิน. (2561, 24 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย กาจน์ กอรี [การบันทึกเสียง]. กรรมการหมู่บ้าน หมู่ 5 บ้านจู้ด ตำบลลำปางหลวงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง, ลำปาง.

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ. (2556). การจัดการองค์ความรู้ เรื่องการรวมกลุ่มและการมีส่วนร่วม. อำนาจเจริญ: สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ.

อุทัย ตันโย. (การสัมภาษณ์, 12 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย กาจน์ กอรี [การบันทึกเสียง]. กรรมการหมู่บ้าน หมู่ 5 บ้านจู้ด ตำบลลำปางหลวงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง, ลำปาง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29