การเสริมสร้างพุทธจริยธรรมในสังคมไทย
คำสำคัญ:
การเสริมสร้าง, พุทธจริยธรรม, ชุมชนพระบาทห้วยต้มบทคัดย่อ
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมไทยต้องมีเป้าหมายร่วมกัน และเครื่องมือชี้วัดในการพัฒนาสังคมโดยนำเอาพุทธศาสนาเป็นฐานในการพัฒนาให้เข้มแข็ง การสร้างความตระหนักในการน้อมนำเอาหลักการทางพุทธศาสนามาใช้ให้เกิดผลมากที่สุด ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือคน และการพัฒนาที่สำคัญที่สุด คือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การเสริมสร้างศีลธรรมในสังคมไทยก็มีการดำเนินการเช่นการจัดตั้งหมู่บ้านรักษาศีล 5 สร้างเป็นชุมชนต้นแบบ เพราะส่งผลดีต่อการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง เป็นสังคมอุดมปัญญา ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติให้เกิดความยั่งยืนตามแผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คนมีศีลธรรม หรือมีมนุษยธรรม ที่เรียกได้ว่าเป็นอารยชน มีธรรม คือคุณสมบัติ ดังนี้ มีสุจริตทั้งสาม คือ มีความประพฤติดีประพฤติชอบ 3 ประการ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ดำรงตนมั่นอยู่ในหลักการทางพุทธศาสนา คือ ละชั่ว ทำความดี ฝึกฝนตนเองให้เกิดปัญญา ทำจิตใจให้เป็นผ่องใส การสร้างชุมชนต้นแบบการประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมที่เห็นได้ชัด ในชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้มทุกคนก็ยังนับถือและยึดถือปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม จึงทำให้สถานที่แห่งนี้ยังคงเป็นชุมชนแห่งพระพุทธศาสนาที่ผู้มาเยือนได้จะได้ซึมซับความงดงามของวิถีชีวิตชาวปกาเกอะญอที่มีต่อพระพุทธศาสนาผ่านชุมชนคุณธรรมที่เข้มแข็ง และเป็นผู้ริเริ่มหมู่บ้านรักษา ศีล 5 แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องในยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ในชุมชนพระบาทห้วยต้ม ที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรพรรณ อาทิตย์ตั้ง. (2555). สภาพปัญหาสังคม. สืบค้น 28 มกราคม 2561, จาก http://luck507.
blogspot.com/2012/07/blog-post.html
พระครูปลัดสุวัฒนเมธากุล (ชัยยันต์ สืบกระพันธุ์). (2555). บูรณาการหลักพุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของคนไทยในสังคมปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิกจำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2555). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, (2558). รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 958-971.
พระมหาสำรวย ญาณสํวโร (พินดอน). (2542). การศึกษาเรื่องผลกระทบจากการล่วงละเมิดศีลข้อที่ 5 ที่มีต่อสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
วศิน อินทสระ. (2529). แนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.
วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทองกวาว.
วันชัย สุขตาม. (2555). การพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในยุคโลกาภิวัตน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์).
ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว ไปด้วยกันท่องเที่ยว. (2560). ปลายทางแห่งศรัทธา ชุมชนพระบาทห้วยต้ม. สืบค้น 12 มกราคม 2561, จาก https://www.paiduaykan.com/travel/ชุมชนพระบาทห้วยต้ม
สมสุข นิธิอุทัย. (2555). การพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). ยาเสพติด ภัยร้าย ใกล้ตัว. สืบค้น 22 มกราคม 2561, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/article/article_50.html
พระมหาสำรวย ญาณสํวโร ( พินดอน). (2542). การศึกษาเรื่องผลกระทบจากการล่วงละเมิดศีลข้อที่ 5 ที่มีต่อสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรมธรรมตามรอยพระยุคลบาท (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมร อำไพรุ่งเรือง. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการรักษาและการล่วงละเมิดศีล 5 ของพุทธศาสนิกชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ