การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้หลักไตรสิกขา ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • เขมินทรา ตันธิกุล วิทยาลัยศาสนศาสตร์ล้านนา
  • ชาลี ภักดี

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, โรงเรียนผู้สูงอายุ, หลักไตรสิกขา, ภาคเหนือตอนบน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนา ทดลอง ประเมินและสร้างคู่มือการใช้หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้หลักไตรสิกขาในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยผสมผสาน (Mix Method) กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนผู้สูงอายุ 14 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร ครูผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มผู้เรียน ปีการศึกษา 2561 รวมทั้งสิ้น 168 คน  เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการศึกษา การสังเกต การสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลวิจัยพบว่า  1) การจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนพบว่ามีการดำเนินงานส่วนมากจะใช้หลัก 5 ก. คือ กลุ่ม กรรมการ กติกา กิจกรรม และกองทุน 2) การหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า หลักไตรสิกขาที่นำมาใช้ ประกอบด้วย (1) ศีล  คือ กิจกรรมตามหลักสูตรในการพัฒนาด้านร่างกาย และด้านสังคม (2) สมาธิ คือ  กิจกรรมตามหลักสูตรในการพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจ (3) ปัญญา คือ กิจกรรมตามหลักสูตรในการพัฒนาด้านความรู้ โดยมีขั้นตอนการพัฒนา 5 ด้าน คือ (1) การศึกษาและวิเคราะห์สภาพจริงของข้อมูลพื้นฐานด้านต่าง ๆ (2) การร่าง การตรวจสอบและการนำหลักสูตรไปใช้ (3) การประเมินผลการใช้หลักสูตร (4) การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร และ (5) สรุปรายงานผล 3) การทดลองและประเมินหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้หลักไตรสิกขาในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้นำหลักไตรสิกขามา ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา การประเมินความพึงพอใจหลังการใช้หลักสูตรมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.05) 4) คู่มือการใช้หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้หลักไตรสิกขาในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย คำนำ วัตถุประสงค์การสร้างและพัฒนารูปแบบหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ   โดยใช้หลักไตรสิกขา แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

References

กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2558). สรุปข้อมูองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ส่วนวิจัยและพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้างสำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

ชนะโชค คาวัน. (2553). แนวทางการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลปลาปาก จังหวัดนครพนม. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระมหาธเนศร รามางกูร. (2547). การประยุกต์ใช้และการยึดมั่นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในการดําเนินชีวิตของคนในชุมชนภูเวียงจังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

เยาวนาถ สุวลักษณ์. (2549). การจัดการความเครียดที่สอดคล้องกับหลักไตรสิกขาทางพุทธศาสนาของนักเรียนวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนครสงขลา (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์. (2542). การพฒันาหลักสูตรท้องถิ่น : สานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เซ็นเตอร์ดิสคฟั เวอรี่.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2553). ภาพรวมผู้สูงอายุไทย ในการทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2545-2550. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2548). การดูแลรักษาโรคผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กรมการแพทย์.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2544). เอกสารทางวิชาการการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเอกสาร ลำดับที่ 33. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2542). การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ ทักษะกระบวนการเผชิญ สถานการณ์. กรุงเทพฯ: โครงการกิตติเมธี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30