ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการของบุคลากรสายวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • pannawat ngamseang Faculty of Education, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผล, การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ, บุคลากรสายวิชาการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการของบุคลากรสายวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการของบุคลากรสายวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 และ 3) เพื่อนำเสนอปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการของบุคลากรสายวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นงานวิจัยแบบผสมวิธี ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธธรรม จำนวน 6 รูปคน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัจจัยประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) มาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง อาทิเช่นลักษณะงานที่ปฏิบัติเป็นต้น 2) แรงจูงใจ อาทิเช่น ความต้องการ ความสนใจพิเศษ ทัศนคติ 3) คุณลักษณะเชิงพุทธ เช่น มีใจรัก พากเพียรทำ 4) บุคลากรสายวิชาการยุคไทยแลนด์ 4.0 เช่น สอนเก่ง เน้นวิจัยและเทคโนโลยี ให้บริการวิชาการและ สืบสานศิลปวัฒนธรรม
  2. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 105 คู่ มีค่าพิสัยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในช่วง 0.377 ถึง 0.819 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรสังเกตได้ พบว่า ทุกตัวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2 = 35.09, df = 20, p = .05, GFI = .99, AGFI = .93, RMSEA = .038) สามารถอธิบายความแปรปรวนบุคลากรสายวิชาการยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้ร้อยละ 100 และพิจารณาตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) พบว่า แรงจูงใจและคุณลักษณะเชิงพุทธ มีอิทธิพลอ้อมสูงกว่าอิทธิพลตรง หมายความว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการของบุคลากรสายวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่พัฒนาขึ้น มีแรงจูงใจและคุณลักษณะเชิงพุทธเป็นตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) ที่ดี

References

คันธรส แสนวงศ์. (2536). แนวทางการพัฒนาคณาจารย์เพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา: ศึกษากรณีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ณัฎฐ์ชุดา กรแก่นท้าว. (2556). การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พรเพ็ญ ปฏิสัมพิทา. (2532). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2562, 28 พฤษภาคม). ปัญหา Disconnect ของมหาวิทยาลัยไทย. โพสต์ทูเดย์. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.posttoday.com/finance-stock/money/590342

ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2541). ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเวงษ์ชวลิตกุล).

สจีวรรณ ทรรพวสุ. (2540). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการวิจัยทางด้านการศึกษาของอาจารยืในสถาบันราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สมใจ จิตพิทักษ์. (2532). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. (2562, 2 กุมภาพันธ์). การประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะจังหวัด พระเลขานุการ เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. บ้านเมือง. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.banmuang.co.th/news/education/140531

ลำพอง กลมกูล. (2554). อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนติดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30