รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อศึกษาผลการยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จำนวนทั้งสิ้น 68 คน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามจำนวน 136 ข้อ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ และแบบสัมภาษณ์เพื่อยืนยันรูปแบบการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัย พบว่า
- องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ประกอบ
ด้วย 4 องค์ประกอบ คือ การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนาครู การแนะแนว และการใช้ผลการประเมิน การพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการนิเทศ
- รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในทุกดัชนี โดย สัดส่วนระหว่างค่าไคสแควร์กับระดับองศาอิสระ (x2/df)มีค่า 1.1296 ดัชนีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ที่มีค่า 0.044 ดัชนีวัดความกลมกลืน (CFI) มีค่า 0.964 ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 คน มีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าองค์ประกอบที่ได้จากการวิจัยมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำนวน 19 คนคิด เป็นร้อยละ 100
References
ชูศรี ถนอมกิจ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ธีระพร อายุวัฒน์. (2552). แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พิเชฎฐ์ คงปัตถา. (2544). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิภา ทองหงํา. (2554). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2551). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. สืบค้น 9 กันยายน 2562 , จาก http://www.krupai.net/sbm_somsak.htm
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550 ก). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Al-Hajailan, T. (1999). Evaluation of English as a foreign language textbook for third grade secondary boy’s schools in Saudi Arabia. Dissertation Abstract International, 53(6), 385.
Austin, G. E., and John D. R. (1990). Managing for Improved School Effectiveness: An International, Survey. School Organization, 10(2&3), 167-178.
Barbara, T. (1998). The Mediating Effect of Participation and Process Outcomes on Evaluation Use in British Columbia School Accreditation. Dissertation Abstract International, 59(5), 1425-A.
Buzzi, M. J. (1991). The Relationship of School Effectiveness to Selected Dimensions of Principals’ Instructional in Elementary School in the State of Connecticut. Dissertation Abstracts International, 51(9), 3167-A.
Caldwell, B.J., & Spinks J.M. (1990). The Self-Managing School. London: Taylor and Francis
Campbell, R. F., Edwin M. B., and Raphael O. N. (1977). Introduction to Education Administration. Boston: Allyn and Bacon.
Cuttence, P. (1995). Quality Assurance School Reviews. NSW: Richmond North Publish.
Faber, Charles F., and Gilbert F. Shearon. (1970). Elementary School Administration. New York: Holt Rhinehart and Winston.
Glickman, C. D. (1981). Developmental Supervision: Alternative Practice for Helping Teachers Improve Instruction. Washington D.C.: Association for Supervision and Curriculum Development.
Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (1990). Supervision of Instruction : Developmental Approach (4th ed). Boston: Allyn & Bacon A Viacom Company.
Glickman, C. D., Stephen P. G., & Ross-Gordon, J. M. (1995). Supervision and Instructional Leadership: A Developmental Approach (3rd ed). Boston: Allyn and Bacon.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (1991). Educational Administration: Theory, Research, and Practice (5th ed). New York: McGraw-Hill.
Kimbrough, R. B., & Michael N. (1998). Education Administration (3rd ed). New York: Macmillan Publishing Company.
Liston, C. (1999). Managing quality and standards. Buckingham: Open University.
Maciel, R. G. (2005). Do Principals Make a Difference? An Analysis of Leadership Behaviors of Elementary Principals in Effective School. (Doctoral dissertation, Texas-Pan American University)
Mcillvan, M.W. (1986). The Role of Secondary School Principle. Dissertation Abstracts International, 37(2), 1959–A.
Murangi, K. V. (1996). Instructional Supervision in Namibia: A study of High school teacher and Supervisor Perceptions (Africa). Dissertation Abstracts International, 53(12), 242 - 248.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ