การศึกษาการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 หลักสูตรบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
จัดการเรียนการสอน, อาจารย์, ยุคไทยแลนด์ 4.0, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ ในยุคไทยแลนด์ 4.0 2) เพื่อศึกษาวิธีการใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์หลักสูตรบัณฑิตศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากความคิดเห็นนิสิต จำนวน 160 รูป/คน และใช้แบบสัมภาษณ์รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ มีการปฏิบัติการโดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเนื้อหาการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเรียนการสอนด้านการวัดและประเมินผล และด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตามลำดับความสำคัญ
- การใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนสำหรับคณาจารย์ มีดังนี้
1) ใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์และกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ให้นิสิตเรียนรู้เป็นหลัก
2) ใช้การวิจัยเป็นฐานเรียนรู้แบบโครงงาน และกิจกรรมเทคนิคการสอนงาน (Coaching) สอนแบบพี่เลี้ยง (Mentor)
3) ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามสถานการณ์จริงแบบมีส่วนร่วมสนับสนุนการค้นคว้าให้แก่นิสิต ในการคิดสิ่งใหม่ๆ เชื่อมโยงกับผลงานของนิสิต เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษ 21
- 3. แนวทางการจัดการเรียนการสอนควรใช้เทคนิคการสอนงาน (Coaching) และสนับสนุนผู้เรียนใช้นวัตกรรมเรียนรู้ผ่านระบบห้องสมุดออนไลน์ E-book ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CRP และนโยบายไทยแลนด์ 4.0
References
กรองทอง อมรรัตนวิศิษฐ. (2542). การใช้นวัตกรรมทางการศึกษาในโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โพยม จันทร์น้อย. (2560, 12 มีนาคม). การศึกษา 4.0. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2562, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9600000025195
พิสันต์ กั้ววงษ์. (2550). ความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานวิชาการของครูโรงเรียนทรงวิทยา จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).
วัฒนา มโนจิตร. (2540). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อดิศักดิ์ สามงามแสน. (2544). สภาพและปัญหาการบริหารกิจกรมพัฒนานักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
Markert, L. R., & Backer, P. R. (1989). Contemporary Technology: Innovations, Issues and Perspectives. Illinois: The Goodheart. Willcox Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ