การศึกษาผลสัมฤทธิ์การสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา ระดับช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนหัวนา จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • Waree Soktia Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

การสอนสังคมศึกษา, หลักไตรสิกขา, จังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา ระดับช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนหัวนา จังหวัดชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา ระดับช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนหัวนา จังหวัดชัยภูมิ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 30 คน โรงเรียนบ้านโนนหัวนา จังหวัดชัยภูมิ ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ และเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเคลื่อนมาตรฐานโดยประมาณและการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า

ผลสัมฤทธิ์การสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาระดับชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านหัวนา จังหวัดชัยภูมิก่อนเรียน-หลังเรียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคะแนนค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T2 (3.57. 0.469) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนที่สูงขึ้นโดยเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา ระดับช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนหัวนา จังหวัดชัยภูมิ ของการเรียนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาก่อนเรียนและหลังเรียน ผลสัมฤทธิ์มีความแตกต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยคะแนนเฉลี่ย T1 (2.38. 0.449) และคะแนนเฉลี่ย T2 (3.57. 0.469) ครูผู้สอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา ระดับช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนหัวนา จังหวัดชัยภูมิ ได้รับการทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาสังคมสูงขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภา ลาดพราว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). ธรรมกับการศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระมหาสุริยา โอภาโส (ปั้นดี). (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ (ไตรสิกขา) เพื่อพัฒนาคุณธรรมด้านความมีวินัยและความรับผิดชอบในตนเองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุลสมัยสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ).

เยาวเรศ พันธ์โนราช. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบการสอนตามหลักไตรสิขาเรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สมถวิล วิจิตรวรรณา และคณะ. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สำราญ วงศ์คำพันธ์. (2556). กระบวนการสอนตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนไมตรีจิตไทย-อเมริกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สิริพัชร์ เจษฏาวิโรจน์. (2550). จริยธรรมและภาวะผู้นำในการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อบรม สินภิบาล และ กุลชลี องค์ศิริพร. (2552). ประสบการณ์วิชาชีพครูภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30