ศึกษากระบวนการฝึกอบรมพระนวกะตามหลักวัตร 14 ของคณะสงฆ์ จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
กระบวนการฝึกอบรม, พระใหม่, วัตร 14บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการฝึกอบรมพระนวกะตามหลักวัตร 14 ของคณะสงฆ์ จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อนำเสนอกระบวนการฝึกอบรมพระนวกะตามหลักวัตร 14 ของคณะสงฆ์ จังหวัดปทุมธานี ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งเครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่าง 162 รูป และสัมภาษณ์พระอาจารย์ผู้ฝึกอบรม 7 รูป สถิติที่ใช้ สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณนำเสนอในรูปแบบตารางบรรยาย และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- กระบวนการฝึกอบรมพระนวกะตามหลักวัตร 14 ของคณะสงฆ์ จังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับมากไปหาน้อยด้าน พระอาจารย์พระพี่เลี้ยงผู้ฝึกอบรม (4.03) ด้านกิจกรรมการฝึกอบรม (3.83) ด้านหลักการฝึกอบรม (3.73) และด้านการบริหารจัดการอบรม (3.72) ตามลำดับความสำคัญ
- กระบวนการฝึกอบรมพระนวกะตามหลักวัตร 14 ของคณะสงฆ์ จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย 1) กระบวนบริหารจัดการฝึกอบรมด้วยทักษะการใช้ภาษาที่หลากหลาย และบูรณาการเข้ากับเทคโนโลยี สามารถสื่อกับผู้เข้าอบรมได้ทุกภาคส่วน 2) ปรับปรุงหลักสูตรให้เข้ากับสถานการณ์และประยุกต์กับชีวิตจริงได้ และ 3) มีการฝึกอบรมพระพี่เลี้ยงด้านการส่งเสริมการบริหารกิจกรรม และมีหลักสูตรการพัฒนาพระอาจารย์ และพระพี่เลี้ยง โดยบูรณาการกิจกรรมผ่านแอบพลิเคชั่น
References
เฉิดฉันท์ ลาดศิลา. (2536). การบริหารโครงการบรรพชาและอุปสมบทพระภิกษุสามเณรภาคฤดูร้อน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
พระครูสุนทรธรรมาลังการ (ศุภชัย ยาไก่ต้อย). (2550). การพัฒนาเยาวชนในโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ).
พระมิ่งขวัญ บุรุษเลี่ยม. (2549). ศึกษาการประเมินโครงการค่ายพุทธบุตรของวัดปัญญานันทาราม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย).
พระอดิศร ฐานวุฑฺโฒ (กลุ่มประสิทธิ์). (2552). ศึกษาการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรม : ศึกษากรณีค่ายธรรมทายาทของฝ่ายบริการฝึกอบรม ส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ