การศึกษาคุณลักษณะของนักเรียนตามหลักศีล 5 โรงเรียนประถมศึกษา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณลักษณะของนักเรียน, ศีล 5, โรงเรียนประถมศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพความเหมาะสมของคุณลักษณะของนักเรียนตามหลักศีล 5 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนตามหลักศีล 5 และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของคุณลักษณะของนักเรียนตามหลักศีล 5 เป็นการวิจัยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติบรรยายการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยมีดังนี้
สภาพความเหมาะสมของคุณลักษณะของนักเรียนตามหลักศีล 5 โรงเรียนประถมศึกษา พบว่า คุณลักษณะของนักเรียนตามหลักศีล 5 ทุกตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ค่าพิสัยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.43 ถึง 0.73
การพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนตามหลักศีล 5 พบว่า จากการนำตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาไปวิเคราะห์ด้วยวิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากแวริแมกซ์ สามารถจัดกลุ่มใหม่เข้าองค์ประกอบ ได้จำนวน 5 องค์ประกอบหลัก 49 คุณลักษณะ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านปาณาติบาต, องค์ประกอบที่ 2 ด้านอทินนาทาน, องค์ประกอบที่ 3 ด้านกาเมสุมิจฉาจาร, องค์ประกอบที่ 4 ด้านมุสาวาท, องค์ประกอบที่ 5 ด้านสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
ผลการวิจัยเกี่ยวกับการตรวจสอบความสอดคล้องของคุณลักษณะของนักเรียนตามหลักศีล 5 พบว่า คุณลักษณะมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2= 948.43, df=1077 , p = 0.00, x2/df= 0.00)
References
ฐิตินันท์ ปั่นมาก. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-71
สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
Hair, J.F., Anderson, R.E., Tatham, R.L., & Black, W.C. (1998). Multivariate Data Analysis (5th Edition). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ