การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน 5 ชุมชนเทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ ลิ่มมังกูร คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ทัศนีย์ บุญมาภิ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เทศบาลเมืองลำพูน, การจัดการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชุมชน 2) เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน 3) เพื่อสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน 5 ชุมชนเทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการศึกษาเอกสาร กลุ่มเป้าหมายจำนวน 250 คนคัดเลือกจากผู้นำองค์กร/ผู้รับผิดชอบ/ผู้ได้รับมอบหมาย จากเทศบาลเมืองลำพูน องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด หัวหน้าพิพิธภัณฑ์จังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตัวแทนคณะสงฆ์ ตัวแทนชุมชนมหาวัน ชุมชนจามเทวี ชุมชนพระคงฤาษี ชุมชนไก่แก้ว และชุมชนประตูลี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน  ผลการวิจัยพบว่า

  1. ทุนทางวัฒนธรรมชุมชน มี 4 ด้าน ได้แก่ทุนทางด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรมจารีตวิถีปฏิบัติ และโบราณสถานโบราณวัตถุ ซึ่งมีที่มาทางประวัติศาสตร์ในยุคหริภุญชัย สมัยพระนางจามเทวี แต่ละชุมชนมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นไม่เหมือนกัน
  2. ระบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน ขึ้นอยู่กับความพร้อมและบริบทของแต่ละชุมชน แต่ละพื้นที่มีการจัดการทั้งคล้ายคลึงกันและต่างกันออกไป
  3. เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 5 ชุมชน มีการร่วมกันจัดทำเส้นทาง แผนที่ และจัดเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทั้ง5 ชุมชน
  4. เครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน ได้มีการเรียนรู้ร่วมกันทั้ง 5 ชุมชน โดยพระสงฆ์และผู้นำชุมชนมีส่วนสำคัญในการนำคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดจังหวัดลำพูน. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน (พ.ศ.2560-2564). ลำพูน: สำนักงานจังหวัดลำพูน.

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนน์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

กำธร ธิฉลาด. (2560). เบื้องหลังการสร้างบ้านแปลงเมืองลำพูนของชาวยอง. ลำพูน: สถาบันวิจัยหริภุญไชย.

ขนิฎฐา กาญจนรังสีนนท์. (2556). การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา. สืบค้น 12 สิงหาคม 2562, จาก https://www.researchgate.net/publication/237077426_karsrangkheruxkhaypheuxkarphathna

จิราภรณ์ แก้วมณี. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านหัวเขาจีน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ฉัตรแก้ว สิมารักษ์ และคณะ. (2549). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชุติกาญจน์ กันทะอู. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาบ้านร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. กรุงเทพฯ: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2555). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เบญจวรรณ สุจริต และ ชัชชัย สุจริต. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, 12(2), 54-65.

ปวีณา ทองบุญยัง, สุภัตราภรณ์ สายสมบูรณ์, เกียรติกุล กุลตังวัฒนา, มนัสดา ชัยวสนียกรณ์, อัจฉรา อรรคนิตย์ และ พิศาล สุขพิทักษ์. (2556). โครงการวิจัยรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านบากตำบลบ้านบากอำเภอดอนตาลจังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.).

พรรณทิพา มาลา. (2553). แนวทางการฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนอำเภอแพรก จังหวัดอยุธยา. อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน. (2561). สถิติการเข้าเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำพูน. ลำพูน: สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน.

อดิศร ศักดิ์สูง และวรุตม์ นาที. (2559). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในรูปแบบหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Uysal, M., Jurowski, C., Noe, P. F., & McDonald, C. D. (1997). Environmental Attitude by Trip and Visitor Characteristics. Tourism of Management, 15(4), 284–560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29