การใช้ภูมิปัญญาในการทำปุ๋ยหมักสู่ชุมชนยั่งยืนของชุมชนช่างเคิ่ง

ผู้แต่ง

  • วีระ ไชยชนะบุตร Learning Institute For Everyone

คำสำคัญ:

การใช้ภูมิปัญญา, การทำปุ๋ยหมัก, ชุมชนยั่งยืน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาบริบทชุมชนการใช้ภูมิปัญญาหลักเศรษฐกิจพอเพียงการทำปุ๋ยหมักให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและสังคม 2) ศึกษาผลของการใช้ภูมิปัญญาการทำปุ๋ยหมักเพื่อพึ่งพาตนเอง ในด้านลดรายจ่าย ลดต้นทุน สร้างรายได้ให้ครอบครัวและชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มเกษตรกรจำนวน 40 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การใช้ภูมิปัญญาในการทำปุ๋ยหมักสู่ชุมชนยั่งยืนของชุมชนช่างเคิ่ง ด้วยวัสดุที่มีในครัวเรือน เช่น เปลือก ซังข้าวโพด มูลสัตว์ และจุลินทรีย์ นำมาทำเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จากหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้น คือ ความพอเพียง เครือข่ายกลุ่มเกษตร รวมถึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ลดวัสดุเหลือทิ้งจากการเผา มลพิษทางอากาศ สารตกค้างในดินและแหล่งน้ำที่ส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชนที่ดีขึ้น
  2. การใช้ภูมิปัญญาการทำปุ๋ยหมักเพื่อพึ่งพาตนเอง เป็นการลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการทำเกษตร และสร้างรายได้ให้ชุมชน จากการจำหน่ายจุลินทรีย์ชุมชน ปุ๋ยหมัก ดินผสมปุ๋ยหมัก ผักปลอดสาร รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางเกษตรอินทรีย์ ได้รับประโยชน์ร่วมกันทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การใช้ภูมิปัญญาดังกล่าวยังส่งผลดีต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดความสุข และการพึ่งตนเองของคนในชุมชนตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

กรมพัฒนาที่ดิน. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555–2559. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.ldd.go.th/www/lek_web/web.jsp?id=17803.

เกษม จันทร์แก้ว. (2556). การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน (พิมพ์ครั้งที่ 3) .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ขวัญกมล ดอนขวา. (2557). แบบจำลองปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ปรียานุช ธรรมปิยา. (2556). ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

ธงชัย มาลา. (2550). ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ : เทคนิคการผลิตและการใช้ประโยชน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ธีรพงศ์ เถาว์ชาลี. (2560). การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนในการผลิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาธุรกิจวิสาหกิจชุมชน ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

รัชดา เพชรรัตน์. (2557). กระบวนการเรียนรู้ของแกนนำเกษตรเพื่อการพัฒนาตนเอง และสวนยางพาราแบบวนเกษตร: กรณีศึกษาเครือข่ายเกษตรกรสวนยางพาราแบบวนเกษตร ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

สมนึก ปัญญาสิงห์. (2557). ตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์, เพทาย พงษ์เพียจันทร์, เสาวลักษณ์ แย้มหมื่ออาจ, วรรณพร ทะพิงค์แก, แสงดาว แบนซิเกอร์ และ จันทร์จิรา ก้อนแก้ว. (2555). หมู่บ้านข้าวโพดลดหมอกควัน. เชียงใหม่: ภาควิชาสัตวศาสต์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29