การถ่ายทอดความรู้ในการผลิตดินผสมแก่กลุ่มเกษตรกร ในเขตตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ถวัลย์ สวัสดิ์จิตต์ Learning Institute For Everyone

คำสำคัญ:

การถ่ายทอดความรู้, การผลิตดินผสม, เกษตรกร

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชน ปัญหาคุณภาพดินในแปลงของเกษตรและกระบวนการถ่ายทอดความรู้ในการผลิตดินผสม ให้กับกลุ่มเกษตรกร ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และ 2) ศึกษาผลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับกลุ่มเกษตรกรและชุมชน จากการผลิตดินผสมใช้เอง ประชากรเป้าหมายคือ สมาชิกกลุ่มเกษตรกร จำนวน 20 ราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์ บันทึกการสังเกตและใช้แบบประเมินความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัญหาคุณภาพดินในแปลงของเกษตร และกระบวนการถ่ายทอดความรู้ในการผลิตดินผสม ให้กับกลุ่มเกษตรกร ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน พบว่า ชุมชนตำบลบ้านธิใช้ดินในการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นระยะเวลานาน ทำให้สภาพดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการรวมตัวของเกษตรกร จัดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ในการผลิตดินผสม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาด้านทรัพยากรในชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1) การปลูกพืชเชิงสร้างปัญหาให้กับดินทำให้ดินเสื่อมโทรมขาดความสมบูรณ์ 2) เกิดแนวทางการฟื้นฟูปรับสภาพดิน 3) มีการพัฒนาอาชีพเกษตรจากการทำดินผสมออกจำหน่าย
  2. ผลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับกลุ่มเกษตรกรและชุมชน จากการผลิตดินผสมใช้เอง พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ ทักษะในการผลิตดินผสม ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) ด้านเศรษฐกิจ ลดค่าใช้จ่ายจากการใช้สารเคมี และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น 3) ด้านสังคมที่มีความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรท้องถิ่น ที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายช่วยเหลือ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนนำไปสู่การแก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว

References

กนกกร จีนา และ อลงกรณ์ คูตระกูล. (2561). กระบวนการถ่ายทอดความรู้จากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน: กรณีศึกษาโครงการอนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(1), 59-80.

กรมการปกครอง. (2559). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้น 10 ตุลาคม 2562, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). หมอดินอาสา. สืบค้น 10 ตุลาคม 2562, จาก http://www.ldd.go.th/WEB_WorldSoilDay/Data/Knowledge/Mordin_TH.pdf

กัลยา มิขะมา, ลำปาง แม่นมาตย์ และ สุจินต์ สิมารักษ์. (2555). กระบวนการเรียนรู้และการสร้างความรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 12(2), 128-139.

ทองแดง ข้อนอก. (2561). กระบวนการเรียนรู้การจัดการดินที่เหมาะสมกับวิถีการเกษตรของชุมชน ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน).

ลั่นทม จอนจวบทรง และ ณธภร ธรรมบุญวริศ. (2552). กระบวนการถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่นสู่คนรุ่นใหม่ กรณีศึกษาการถ่ายทอดความรู้เรื่องผักพื้นบ้านของชุมชนในภาคตะวันออกของประเทศไทย. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

วิจารณ์ พานิช. (2554). การจัดการความรู้: ฉบับนักปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

สุภางค์ จันทวานิช. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี พงศ์พิศ. (2557). เศรษฐกิจพอเพียงเกิดได้ ถ้าใจปรารถนา. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562. สืบค้น 10 ตุลาคม 2562, จาก https://www.onep.go.th/ebook/soe/soereport2019.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29