การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ เทคโนโลยีและทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคสืบค้นร่วมกับคำถามอาร์-ซี-เอ

ผู้แต่ง

  • เกริกฤทธิ์ วังสระ 0857781977

คำสำคัญ:

การเรียนแบบร่วมมือ, ทักษะชีวิต, คำถามอาร์-ซี-เอ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้เทคโนโลยี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและคำถาม อาร์-ซี-เอ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้เทคโนโลยี ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและคำถามอาร์-ซี-เอ และ 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนาวัง  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดทักษะชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สถิติทดสอบสมมติฐาน t – test (dependent)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้เทคโนโลยี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและคำถาม อาร์-ซี-เอ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 84.04/82.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้เทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและคำถามอาร์-ซี-เอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและคำถาม อาร์-ซี-เอ อยู่ในระดับมาก เท่ากับ x̅ = 4.11 S.D.= 0.04

References

กะสีลา ฤทธิ์บำรุง และ พรสิริ เอี่ยมแก้ว. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้นที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (น. 794-805). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ชุติมน กระแสร์สินธุ์ และ อินทิรา รอบรู้. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย โรงเรียนอนุบาลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. วารสารชุมชนวิจัย, 12(3), 222-231.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา : ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ดาริณี นันทาวรนุช. (2542). การศึกษานอกโรงเรียนกับทักษะชีวิต. วารสารการศึกษานอกโรงเรียน, 2(2), 50-51.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทิดศักดิ์ เดชคง. (2544). การเรียนรู้สู่พลังจิตใจ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

นิกร ดุสิตสิน. (2545). คู่มือการสอนเพศศาสตร์ศึกษาระดับมัธยม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาเพศศาสตร์ศึกษา สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์.

ประเสริฐ ตันสกุล. (2551). ทักษะประคองตน. สืบค้น 17 มกราคม 2562, จาก http://www.aspacngo.org/unloads/events.jamming/6.pdf

วนิดา ขาวมงคลเอกศรี. (2546). หลักการสอนการพัฒนาทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชริญฎา พรมเย็น. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต เรื่อง เพศศึกษา ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที 5 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม โดยใช้เทคนิคคำถาม R-C-A. ขอนแก่น: โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.

สัมฤทธิ์ สันเต. (2547). การพัฒนาเครื่องมือประเมินทักษะชีวิตจากกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนวัยเด็กตอนกลาง. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). การเสริมสร้างทักษะชีวิตตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

อภิรัชต์ การิโก. (2557). การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนองาน วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (ง16201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 1(2), 16-27.

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1974). Instructional Goal Structure: Cooperative, Competitive, or Individualistic. Review of Educational Research, 44(2), 213-240.

Slavin, R. E. (1987). Cooperative Learning and Cooperative School. Educational leadership: journal of the Department of Supervision and Curriculum Development, N.E.A., 45(3), 7-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29