แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมตามหลักพุทธธรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การส่งเสริมสุขภาวะ, สุขภาวะเชิงพุทธ, โรงเรียนผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักสุขภาวะทางพุทธธรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 2) เสนอแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมตามหลักพุทธธรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป
ผลการวิจัย พบว่า หลักสุขภาวะทางสังคมตามหลักพุทธธรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) ทาน การให้เพื่อเกิดความสุขทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์และปัญญา ได้แก่ อามิสทาน การให้เบี้ยยังชีพและการช่วยเหลือด้าน
ต่าง ๆ ธรรมทาน การเพาะบ่มจิตใจให้เกิดคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม อภัยทาน การสร้างจิตใจให้ปราศจากการขุ่นมั่ว ความโกรธเคือง 2) ปิยวาจา การพูดอ่อนหวาน คำสุภาพไพเราะ น่าฟัง ชี้แจง แนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีเหตุผล
3) อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น 4) สมานัตตตา การวางตนสม่ำเสมอในการเรียนรู้
แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมตามหลักพุทธธรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ 2) การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 3) การสรรหาวิทยากรที่หลากหลาย 4) การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม 5) ความต่อเนื่อง 6) การสนับสนุนงบประมาณ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้แสดงถึงพลังความสามัคคี ศักยภาพอันล้ำค่า และจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชน
References
เฉลิมเขตร์ ไชยกาล. (2563, 28 ตุลาคม). สัมภาษณ์โดย วารุมาตร์ แก้วคะปวง [การบันทึกเสียง]. ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิบ้านแสนตอ ตำบลเกาะคา, ลำปาง.
นันทนา สารแสง. (2561). คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
บริบูรณ์ พรพิบูลย์. (2536). คุณลักษณะผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.
พระครูวิรัติธรรมโชติ, สมบูรณ์ บุญฤทธิ์, และ พีระพล สงสาป. (2562). โรงเรียนผู้สูงอายุ: การจัดการระบบสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1339-1362.
พระธนวันต์ กิตฺติวณฺโณ (หวังนอก) และ พระครูศรีรัตนากร. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบริบทพุทธธรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 245-252.
พระมหากีรติ วรกิตติ. (2563, 1 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์โดย วารุมาตร์ แก้วคะปวง [การบันทึกเสียง]. รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา, ลำปาง.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2558). การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขของประชาชนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เพ็ญภัค รัตนคำฟู. (2563, 24 ตุลาคม). สัมภาษณ์โดย วารุมาตร์ แก้วคะปวง [การบันทึกเสียง]. นายกเทศมนตรีตำบลเกาะคา, จังหวัดลำปาง.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.
แม่ชีสุภาพ รักประสูติ. (2560). การศึกษาแนวทางการสร้างความสุขของผู้สูงอายุตามวิถีพุทธ. มจร การพัฒนาสังคม, 2(1), 73-85.
สราวุฒย์ วิจิตรปัญญา, พระครูประโชติพัชรพงศ์, พระมหาธวัชชัย ธมฺมรํสี, และ นรุณ กุลผาย. (2561). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตามแนวพระพุทธศาสนา (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุเทน ลาพิงค์. (2561). การพัฒนาสุขภาวะทางสังคมของผู้สูงอายุ โดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในภาคเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(2), 233-243.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ