การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • นัฐปภัสร์ ทับแอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

เทคนิคการอ่านแบบ SQ4R, การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1)  เพื่อพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การสอนแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R จำนวน 6 ชุด และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการทดลอง พบว่า 1) ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ค่า E1 มีค่าประสิทธิภาพ  80.247 และค่า E2 มีค่าประสิทธิภาพ  81.250 ซึ่งสูงว่าเกณฑ์ที่กำหนด และ 2) คะแนนที่เรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน

References

กชมน สุชิรัมย์. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองตาดพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขจิต ฝอยทอง. (2553). คู่มือสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. นครปฐม: คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ชรัลภัสร์ พิสุทธิ์จิระธาดา. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

พรนิภา บรรจงมี. (2548). การใช้เทคนิคเอสคิวโฟร์อาร์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและการคิดไตร่ตรองของผู้เรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2553). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สายชล ปิ่นชัยมูล. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).

สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2561). การทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา TU-SET. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลา เรียน“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เสาวนีย์ สามหมอ, อารีรักษ์ มีแจ้ง และ ศิตา เยี่ยมขันติถาวร. (2558). ผลการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5 (น. 1-10). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Bloom, B.S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29