การพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อการพึ่งตนเอง กรณีศึกษา กลุ่มสตรีบ้านร้อง หมู่ 6 ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ผ่องพันธ์ มณีโต Learning Institute For Everyone

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน, การพึ่งพาตนเอง, กลุ่มสตรีบ้านร้อง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การใช้สมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อดูแลสุขภาพและบำรุงผิวพรรณของกลุ่มสตรีบ้านร้อง และ2) เพื่อศึกษาผลของการใช้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อดูแลสุขภาพ บำรุงผิวพรรณและการพึ่งตนเองของกลุ่มสตรีบ้านร้อง หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในงานวิจัยคือ กลุ่มผู้ผลิต และกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์และแบบสัมภาษณ์กลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เชื่อมโยงกันด้วยเนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ชุมชนบ้านร้อง เป็นชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการปลูกพืชสมุนไพร คิดค้นพัฒนาสูตรการผลิตสินค้าออกมาในหลายรูปแบบ มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพึ่งพาตนเอง เป็นหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความยั่งยืน มั่นคงด้วยการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพให้กับครอบครัว ชุมชน และขยายไปสู่พื้นที่ใกล้เคียง ในรูปของวิสาหกิจชุมชนและการได้รับมาตรฐานของสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนระดับตำบล
  2. ผลของการใช้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อดูแลสุขภาพ บำรุงผิวพรรณและการพึ่งตนเองของกลุ่มสตรีบ้านร้อง หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลในด้าน 1) ด้านเศรษฐกิจ มีการพึ่งพาตนเอง ลดค่าใช้จ่าย สร้างรายได้ รวมถึงการจัดการทุนที่มีอยู่ในท้องถิ่น 2) ด้านสังคมได้รับการไว้วางใจจากผู้บริโภคเพราะเป็นสินค้าที่คุณภาพ 3) ผลด้านสิ่งแวดล้อม ลดการสารเคมี และ 4) ด้านค่าใช้จ่ายเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนดีกว่าการพึ่งพาจากภายนอกชุมชน

References

กรมพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสารณสุข. (2559) . แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2564. นนทบุรี: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายการยาสมุนไพรที่สามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบัน. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/download.html?start=40

กิตติ ลี้สยาม. (2556). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสมุนไพร. สืบค้น 20 มกราคม 2563, จาก https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book56_1/thai.htm

ฉัตรชัย อินทสังข์ และ ปวีณา อาจนาวัง (2555). ต้นแบบกลยุทธ์การตลาด สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนเพื่อการค้าระดับประเทศ สู่ความยั่งยืน : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีระดับต่ำกว่า 3 ดาว ในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พลวัต พฤกษ์มณี .(2558). สามเหลี่ยมความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่.กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ไพโรจน์ ภัทนรากุล. (2545). ยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติตามแนวทางชุมชนพึ่งตนเองแบบยั่งยืน : กรอบนโยบายและตัวแบบการจัดการ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 42(3), 1-73.

มูลนิธิหมอชาวบ้าน. (2552). น้ำผึ้ง เพื่อสุขภาพ และความงาม. สืบค้น 20 มกราคม 2563, จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/6413

สุธาทิพ ภมรประวัติ. (2550). ฟักข้าว อาหารต้านมะเร็ง. สืบค้น 20 มกราคม 2563, จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/1060

เสรี พงศ์พิศ. (2554). การจัดการสุขภาพโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

อรชญา เกาะเพชร. (2558). ทัศนคติและความเชื่อมั่นต่อครีมบำรุงผิวหน้าผ่านช่องทางออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ และ นิศานาถ แก้ววินัด. (2559). การถ่ายทอดองค์ความรู้สมุนไพรพื้นบ้านภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29