การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม หน่วยการเรียนรู้ดุลยภาพ ของสิ่งมีชีวิต ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ภัควลัญชญ์ เสนามาตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม, ความสามารถในการแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม หน่วยการเรียนรู้ ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 1 ห้องเรียน จำนวน 18 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบทดวัดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Sample) 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต มีประสิทธิภาพของ (E1/E2) เท่ากับ 83.21/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
  3. นักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีความสามารถในการแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

References

โชคชัย ยืนยง. (2550). การใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสังคมในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการ, 10(2), 29-34.

ทัชยา อุดมรักษ์. (2557). ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ผลการประเมิน PISA 2015 บอกอะไรถึงระดันโยบาย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์.

Carin, A. (1997). Teaching Modern Science (7th ed). New Jersey: Practice-Hall, Inc.

Hurd, P. A., Guyer, M. M., & Wahlund, T. M., (1986). The effect of infusing STS vignettes into the genetics unit of biology on learner outcomes in STS and genetics. A report of two investigation. Journal of Research in Science Teaching, 28(6), 531-552.

Rosental, D.B. (1989). Two approaches to science-technology-society (STS) education. Science Education, 73(5), 581-589.

Shamos, M.H. (1993). The Science, Technology, Society Movement. Washington, DC: The National Science Teacher Association.

Wang, C. H. (1998). Cultivating Capabilities of Teachers in Promoting Student Creativity: Designing STS Exploratory Experiment. The National Science Council, Republic of China, 8(1), 45-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29