วิธีคิดและการเปรียบเทียบนัยผู้หญิงในคร่าว ซอ
คำสำคัญ:
ผู้หญิง, นัยเปรียบ, คร่าว, ซอบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีคิดและการเปรียบนัยผู้หญิงใน คร่าว ซอ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากคร่าวใช้ของกวีพื้นบ้านและบทซอล่องน่านของพ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ขับซอ) ประจำปี พ.ศ. 2538 โดยศึกษาจากบทกวีที่ถ่ายทอดออกมาจากบทกวี และคำร้องที่ถ่ายทอดออกมาในซอล่องน่าน ทั้งคร่าวใช้และบทซอล่องน่าน
ผลการวิจัยพบว่า นัยการเปรียบของกวีนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับค่านิยมและคตินิยมของคนล้านนาในการมองผู้หญิงอันเป็นที่รักของตน โดยกวีนำมาเปรียบกับธรรมชาติ ความเชื่อ ศาสนา สรรพสิ่ง และความสัมพันธ์ในสังคม สร้างภาพให้ผู้หญิงมีความงดงามบอบบางน่าทะนุถนอม จึงเลือกที่จะนำเอาสตรีไปเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความงามตามคตินิยมของล้านนา กวีกล่าวถึงผู้หญิงด้วยการเปรียบกับสิ่งที่อยู่รอบตัว ชี้ให้เห็นถึงนัยที่แฝงสะท้อนให้เห็นถึงสภาพธรรมชาติ เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพความงดงามทางกายทั้งผิวพรรณ ผม ดวงตา แขน รูปร่าง หรือกล่าวโดยรวมเป็นความงามในพระพุทธศาสนาที่ถือว่าความงามอย่างนางวิสาขาเป็นแบบอย่างของความงาม เรียกว่า เบญจกัลยาณี ชาวล้านนาถือคติความงามของหญิงสาวตามอย่างของนางวิสาขาทั้งยังต้องมีความงดงามทั้งความงามภายในและความงามภายนอก วิถีชีวิตที่ยังคงเกี่ยวพันกับการถักทอใช้วัสดุในการถักทอเพื่อบ่งบอกความงามหรือสถานภาพ บทบาทหน้าที่ของผู้หญิงในสังคมทั้งแม่และน้อง ทั้งนี้คำเปรียบของกวียังชี้ให้เห็นความงามของผู้หญิงที่ไม่เพียงแต่งามทางกายเท่านั้น หากแต่งามทางด้านคุณสมบัติของการเป็นแม่เรือนที่ดีดุจนางแก้วหรือดุจพระนางมัทรีอีกด้วย
References
คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช. (2546). ความเชื่อพื้นบ้านล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2551). มรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2532). การศึกษาเปรียบเทียบคำอู้บ่าวอู้สาวล้านนา และผญาเกี้ยวอีสาน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
มณี พะยอมยงค์ และ นรินทร์ชัย พัฒนวงศา. (2527). วิถีชีวิตและค่านิยมของชาวลานนาไทย. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์และคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มะลิวัลย์ บูรณพัฒนา. (2539). บทชมโฉมในวรรณคดีไทย-ล้านนา. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 13(2), 76.
เรณู อรรถาเมศร์. (2528). โลกทัศน์ชาวล้านนาไทยจากวรรณกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร).
ศิริรัตน์ อาศนะ. (2529). สตรีในวรรณกรรมล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร).
สนั่น ธรรมธิ. (2561). ดอกไม้ล้านนา : ศรัทธาและความหมาย. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Fitzgerald, T. K. (1993). Metaphors of Identity: a culture-communication dialogue. New York: State University of New York Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ