มาตรการทางกฎหมายในการเลี่ยงการบังคับโทษผู้เสพยาเสพติด

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ พิมพ์สุรโสภณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การเลี่ยงการบังคับโทษจำคุก, ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการเลี่ยงการบังคับโทษจำคุกผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้เสพยาเสพติด ซึ่งพิจารณาจากมาตรการทางกฎหมายที่มีบทลงโทษจำคุกผู้เสพยาเสพติด ทำให้เกิดปัญหาความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้ต้องขังมีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนพฤติกรรมการกระทำความผิดกันเอง เป็นอุปสรรคในการบำบัดฟื้นฟู  จึงมีการกระทำความผิดซ้ำเพิ่มมากขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

            ผลการวิจับพบว่า มีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้เสพยาเสพติดเป็นจำนวนมากขึ้นและไม่สามารถทำให้ลดลงได้ แต่กลับมีการกระทำความผิดซ้ำ และมีผู้เสพยาเสพติดรายใหม่เพิ่มมากขึ้น มาตรการในการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดไม่สามารถกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์

            ดังนั้น จึงเสนอให้แก้ไข ประมวลอาญามาตรา 23 วรรคสอง “ในกรณีผู้กระทำความผิดต้องโทษจำคุกตามวรรคแรก ถ้าเป็นความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้เสพยาเสพติดให้โทษ ศาลมีอำนาจใช้มาตรการในการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำความผิดแทนการกักขัง” แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 55 วรรคสอง “ถ้าการลงโทษจำคุกตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้เสพยาเสพติดให้โทษ ศาลมีอำนาจใช้มาตรการในการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำความผิดแทนการลงโทษจำคุก” และแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 52 (7) “กรณีนักโทษเด็ดขาดในคดีเกี่ยวกับการเป็นผู้เสพยาเสพติด คณะกรรมการมีอำนาจในการพิจารณาจัดทำแผนบำบัดฟื้นฟู โดยไม่คำนึงถึงจำนวนโทษที่ได้รับมาแล้ว ตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545”

References

ธานี วรภัทร์. (2558). หลักกฎหมายว่าด้วยการบังคับโทษจำคุก (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

นัทธี จิตสว่าง. (ม.ป.ป.). หลักทัณฑวิทยา : หลักการวิเคราะห์ระบบราชทัณฑ์ (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพิบูลสงเคราะห์ กรมราชทัณฑ์.

ภัทระ เหล่ามีผล. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดปทุมธานี กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กรมราชทัณฑ์. (2560). สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์. สืบค้น 10 ธันวาคม 2560, จาก http://www.correct.go.th/stathomepage

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522. (2522, 27 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอนที่ 63 ฉบับพิเศษ. หน้า 40-82.

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519. (2519, 17 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 93 ตอนที่ 144 ฉบับพิเศษ. หน้า 14-23.

พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545. (2545, 30 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 96 ก. หน้า 26-42.

พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560. (2560, 18 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 21 ก. หน้า 1-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29