การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสาระการดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม

ผู้แต่ง

  • วณัฐ หอมนาน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • เกตุมณี มากมี คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วารุณี โพธาสินธุ์ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

กระบวนการกลุ่ม, กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ, การดำรงชีวิต, ครอบครัว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 22 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ แบ่งเป็น 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการกลุ่ม มีประสิทธิภาพ 82.88/88.64 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการกลุ่ม มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.66

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สยามสปอรต์ ซินดิเค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา ไชยพันธุ์. (2549). กระบวนการกลุ่ม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ขวัญเรือน คำวงศ์. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการตัดกระดาษโปสเตอร์เป็นดอกไม้โดยใช้แบบลายไทย กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเทคนิคกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

จิดาภา พงษ์ชุบ. (2549). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โครงการโรงเรียนสองภาษา โดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์ : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บูรพาศิลป์การพิมพ์.

นุ่มนวล วรรณลี. (2559). ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนงานประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

วรรณสวัสดิ์ อุทันพันธุ์. (2540). ผลของกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

วัชพร แย้มอิ่ม. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสอบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ศุลีพร สุ่มมาตย์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2547). การเขียนแผนการสอนตามแนวปฏิบัติการศึกษา ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Stogdill, R. M. (1959). Individual behavior and group achievement: A theory; the experimental evidence. New York: Oxford. University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30